"สร้างเครือข่ายรู้เท่าทันสื่อ" ผลักดันผู้สูงวัยเป็นผู้นำร่อง

ผลสำรวจเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อเป็นเรื่องน่าตกใจ เมื่อผู้สูงอายุถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่มีคุณภาพมากถึงร้อยละ 70.53 หลอกให้ทำบุญ ดูแลสุขภาพ และยังหลอกให้ผู้สูงอายุเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 14.06

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า    จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศซึ่งเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด   ไทยจึงต้องเร่งสานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ   สภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุ ให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีพลังและคุณภาพ (Active Aging)   สอดรับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี

ทั้งนี้ สถานการณ์และผลกระทบจากการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย ปี 2566 โดยศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ (Intelligence Center for Elderly Media Literacy - ICEML) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดิม 22.40%,  ถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่ได้คุณภาพ 70.53%, ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 14.06% ที่สำคัญข้อมูลมติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีและการรู้เท่าทันภัยจากเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับต่ำ  สะท้อนการเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงจากสื่อได้ง่าย

"แก๊ง Call Center หลอกเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ   มิจฉาชีพหาประโยชน์จากผู้สูงอายุ เข้าถึงเหยื่อด้วยโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นขอฝากคาถา "รู้ทันสื่อ หยุด คิด ถาม ลงมือทำ" ผู้สูงอายุมีประสบการณ์มากก็จริง แต่เมื่อถูกหลอกลวงโอกาสที่จะได้เงินกลับคืนก็น้อยนัก   เงินบำเหน็จบำนาญ เงินที่เก็บออมหายไปในไม่กี่วันเพียงการใช้โทรศัพท์มือถือไม่กี่ครั้ง ในขณะที่เด็กๆ  เงินหายยังมีเวลาเอาเงินกลับคืนได้ การสร้างความตระหนักรู้ให้บุคคลอันเป็นที่รัก เราได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคม สสส.กลุ่มคนตัว D บริษัททำมาปัน จำกัด ม.มหิดล กรมกิจการผู้สุงอายุ รร.ผู้สูงอายุ  เพื่อทำให้สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ ถ้าผู้สูงอายุนึกไม่ออกว่าจะถามใคร ถามที่ สสส.ได้ ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิการประชาชน ๑๓๐๐ หรือ line app จะส่งเรื่องไปหาคุณตำรวจ จำไว้ว่าไม่มีใครเอาเงินมาให้เราฟรีๆ  หรือการขายของหลอกลวงว่าทำให้ผิวหน้าเต่งตึง การใช้ sms line facebook อย่าได้หลงเชื่อง่ายๆ ขณะนี้มีหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงวัย มีอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อ"

วันนี้ กระทรวง พม.สานพลัง สสส. มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มคนตัว D บริษัท ทำมาปัน จำกัด พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ “หยุด คิด ถาม ทำ” เครื่องมือที่ช่วยสร้างสังคมการสื่อสารที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่ให้ใครตกเป็น “เหยื่อ” ของผู้ไม่หวังดี เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ชีวิต การรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อของผู้สูงอายุ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ มุ่งเป้าขยายผลหลักสูตรในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่งทั่วประเทศ หวังเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สสส. เปิดเผยว่า อีก 20 ปีข้างหน้าไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด การเตรียมพร้อมปัจจัยสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างนิเวศสื่อสุขภาวะ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ สสส.ให้ความสำคัญ ที่ผ่านมา สสส.สานพลัง ภาคีเครือข่าย สร้างเสริมทักษะเท่าทันสื่อในกลุ่มผู้สูงอายุผ่านการดำเนินงาน 3 ด้าน

1.พัฒนาทักษะเท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุใช้สื่ออย่างปลอดภัย ยกระดับเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยเฝ้าระวังสื่อในระดับพื้นที่ 2.สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการรู้เท่าทันสื่อ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง 3.จัดการความรู้สู่การขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบาย จัดตั้งศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ล่าสุด ได้ขยายผลพัฒนาหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ มุ่งให้ผู้สูงอายุเป็นพลเมืองสูงวัยเท่าทันสื่อ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.iceml.org/Doc/Curriculum-2024-Media-Literacy.pdf

นางญานี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11)  สสส. เปิดเผยว่า สสส.สนับสนุนหลักสูตรกลไกเฝ้าระวังเพื่อสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เพื่อรองรับอีก 5 ปีข้างหน้าสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอดคือมีผู้อายุสูงกว่า 60 ปีขึ้นไป 28% ผู้สูงอายุเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศ ทุกวันนี้คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 85% สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก คนที่มีโทรศัพท์มือถือเป็นผู้ใช้สื่อเผยแพร่ข้อมูลในโลกดิจิทัล ใครที่เกิดก่อนปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528) อยู่ในยุค analog ในขณะที่เด็กรุ่นนี้เป็น digital native คือเกิดมาก็ใช้ digital ดังนั้นคนรุ่นเก่าต้องปรับตัว รู้เท่าทันสื่อเป็นเรื่องจำเป็นมาก

“ภัยดิจิทัลมาพร้อมกับมิจฉาชีพ แก๊ง call center   ข้อมูลรั่วไหล ยิ่งผู้สูงอายุไม่กลั่นกรองข้อมูลและส่งต่อข้อมูลที่ผิด พบว่า 15% มีช่องว่างในการเข้าไม่ถึงข้อมูล มีความเหลื่อมล้ำทาง digital ดังนั้นจิตอาสาเฝ้าระวังสื่อจึงมีความสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องด้วย และต้องเป็น active citizen คิดวิเคราะห์ประเมินผลได้ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกออนไลน์ สร้างกลไกเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ขณะนี้ สสส.ทำ MOU กับ ม.มหิดล เครือข่ายรู้เท่าทันสื่อ 6 จังหวัดนำร่อง โดยเราทำงานร่วมกัน 20 จังหวัด การพัฒนาเครื่องมือ platform ด้านวิชาการ การเฝ้าระวังสื่อเพื่อแพร่กระจายไปทั้งประเทศด้วยมุ่งหวังให้สังคมสูงวัยรู้ทันสื่อ”

นายวันชัย บุญประชา​ ที่ปรึกษากลุ่มคนตัว D  บริษัท ทำมาปัน จำกัด ชี้แจงว่า กลุ่มคนตัว D สานพลัง สสส. สร้างเสริมการรู้ทันสื่อให้กับผู้สูงวัย ตั้งแต่ปี  2561 โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุผ่านเวที “สูงวัยรู้ทันสื่อ” ยึดหลักคาถา 3  ข้อ 1.จำเป็นไหม 2.ไปหาข้อมูลก่อน 3.เดือดร้อนใครหรือไม่ มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 5,000 คน ใน 21 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค มุ่งเป้ายกระดับสู่การสร้างเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อขึ้นในระดับชุมชน การสานพลังขยายผลนวัตกรรมหลักสูตรครั้งนี้ จะสร้างความตื่นตัวของผู้สูงอายุที่จะรู้ทันและมาเป็นเครือข่ายอาสาสูงวัยรู้ทันสื่อ เกิดเป็นกลไกร่วมเฝ้าระวังสื่อในระดับประเทศ

นอกจากนั้น รศ.ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ ประธานศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ICEML เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม ม.มหิดล ได้ข้อมูลผู้สูงอายุ 13.6 ล้านคน เป็น 20.2% ของประชากร 65 ล้านคน คนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 20% คนไทยอายุ 65 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 14% และนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต มิติสุขภาพ รายได้ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย นวัตกรรม เทคโนโลยี พบว่าการใช้สื่อดิจิทัลในผู้สูงอายุต้องการการเรียนรู้ พัฒนาเทคโนโลยี จำเป็นต้องสร้างสังคมสูงวัยรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนทุกวัย

สถานการณ์การใช้สื่อของผู้สูงอายุจากการสำรวจ 2,000 คนทั่วประเทศ ภาครัฐ 4 จังหวัด เปรียบเทียบในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุใช้สื่อออนไลน์ลดลงจาก 4 ชั่วโมง/วัน  ลดลง 14% จากปี 2565 สื่อที่นิยมของผู้สูงอายุ เป็นสื่อบุคคล โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ วิทยุ ผู้สูงอายุใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นทั้งใน กทม.และภูมิภาค สื่อออนไลน์ที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสาร ความรู้ ความบันเทิง  คือ line เป็นอันดับ 1,  youtube เป็นอันดับ 2,   facebook อันดับ 3  ทั้งนี้ tiktok ยังไม่ติดอันดับแต่อย่างใด

ขณะนี้ผู้สูงอายุที่รู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นการหลอกแบบก้าวกระโดด 70% ให้ซื้อของไม่มีคุณภาพ มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2566 ได้ยกระดับให้เกิดผลระดับประเทศ โดยสานพลังการทำงานทุกภาคส่วน พัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอบโจทย์ทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติในระดับประเทศ การแสดงหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ นำเสนอเรื่องรามเกียรติ์ หนุมาน  เบญกายแปลงกายเป็นนางสีดา  ให้ข้อคิดงดพฤติกรรมการใช้ line และ facebook กับหมายเลขโทรศัพท์แปลกๆ มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ