ไขปริศนา การจำกัดจำนวนเทอม 'นายกรัฐมนตรี'

17 ส.ค.2565 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้

ไขปริศนาการจำกัดจำนวนเทอมนายกรัฐมนตรี

ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาที่ถูกต้องและสมบูรณ์อย่างแท้จริงได้อย่างไร ในเมื่อแม้แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญเองก็ไม่รู้หลักวิชา ไม่เคารพหลักการสำคัญในระบบรัฐสภา

นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้น ต่างจากระบบประธานาธิบดีที่มักมีการจำกัดจำนวนเทอมของประธานาธิบดี โดยส่วนใหญ่นิยมจำกัดไว้เป็นเวลาจำนวนสองเทอม

ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภา ไม่ใช่ระบบประธานาธิบดี จึงไม่ต้องมีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรี เฉกเช่นการจำกัดจำนวนเทอมของประธานาธิบดีแต่อย่างใด

แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญไทยกลับเอาหลักการของระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดีมาปะปนกันจนมั่วไปหมด สมกับที่เป็นระบอบเผด็จการลัทธิรัฐธรรมนูญหลอกลวงประชาชนมานับตั้งแต่ ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕

การจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีในรัฐธรรมนูญของไทย จึงสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้หลักวิชาของคนเขียนรัฐธรรมนูญ และเผยให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ตกเป็นเครื่องมือของเผด็จการมาโดยตลอด ๙๐ ปี

คนเขียนรัฐธรรมนูญไทยไม่รู้กันจริงๆ หรือว่านายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาทั่วโลกล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภาที่เป็นราชอาณาจักร หรือระบบรัฐสภาที่เป็นสาธารณรัฐ

- ระบบรัฐสภาที่เป็นราชอาณาจักร เช่น สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สเปน เบลเยียม ลักแซมเบิร์ก มาเลเซีย โมรอคโค จาเมกา สวาซิแลนด์ เลโซโท กัมพูชา โมนาโก อันดอร์รา ลิกเตนสไตน์ เบลีซ เป็นต้น

- ระบบรัฐสภาที่เป็นสาธารณรัฐ เช่น เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน โปแลนด์ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย เป็นต้น

อีกทั้งแม้แต่ประเทศในระบบกึ่งประธานาธิบดี ซึ่งมีทั้งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี ตลอดจนประเทศในระบบประธานาธิบดีที่มีนายกรัฐมนตรี ก็ล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้นเช่นเดียวกัน
- ระบบกึ่งประธานาธิบดี เช่น แอลจีเรีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ติมอร์-เลสเต อียิปต์ ฝรั่งเศส เฮติ ลิทัวเนีย มาดากัสการ์ มาลี มองโกเลีย ไนเจอร์ นอร์เทิร์นไซปรัส โปรตุเกส โรมาเนีย เซาตูแมอีปริงซีป ศรีลังกา ตูนิเซีย ยูเครน เป็นต้น

- ระบบประธานาธิบดีที่มีนายกรัฐมนตรี เช่น เกาหลีใต้ เปรู คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน ไอวอรี่โคสต์ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เป็นต้น

นอกจากนี้ พบว่ามีเพียงแค่นายกรัฐมนตรีภายใต้ระบบพรรคเดียวของระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเท่านั้น ที่มีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีเป็นจำนวนสองเทอม เช่น ลาว เป็นต้น

ทั้งๆ ที่ประเทศไทยของเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาแท้ๆ แต่กลับมีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีที่ผิดหลักวิชา แถมยังนำมาทะเลาะกันเสียจนวุ่นวายใหญ่โตอย่างน่าขบขัน

นับเป็นเรื่องที่น่าอนาถใจที่สุด เพราะแม้แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญเอง ก็ยังไม่รู้หลักวิชา ไม่เคารพต่อหลักวิชา ถือแนวลัทธิรัฐธรรมนูญที่เขียนรัฐธรรมนูญแบบคิดเอาเอง เป็นเพียงแค่เผด็จการพวกหนึ่งเท่านั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า