'อังคณา' กางกฎหมายให้ดูชัดๆ กรณีนอนนานชั้น14-หลักนิติธรรม

21 ธ.ค.2566 - นางอังคณา นีละไพจิตร คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ องค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Expert- WGEID) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาว่า กรณีนอนนานชั้น14 ซึ่งจะครบกำหนด 120 วันในอีกไม่นาน และหากจะขยายต่อต้องมีการทบทวน และต้องเแจ้งรัฐมนตรียุติธรรมเพื่อทราบ ซึ่งในการชี้แจงต่อสังคมดูเหมือนจะมีความคลุมเครือโดยอ้างสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย จนหลายฝ่ายกังวลว่าอาจเป็นการสร้าง ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ซึ่งกระทบต่อ หลักนิติธรรม อันเป็นหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หลักการ right to privacy (สิทธิความเป็นส่วนตัว) ได้รับรองไว้ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR ข้อบทที่ 17) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ได้ออกความเห็นทั่วไป ที่ 16 (General Comment No.16) เพื่ออธิบายความหมายของ สิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งรัฐไม่มีอำนาจแทรกแซงความเป็นส่วนตัวโดยพลการของบุคคล แต่สิทธินี้ก็ไม่ใช่ สิทธิสัมบูรณ์ (absolute right) ในข้อ 7 ของ GC 16 จึงกล่าวถึงข้อยกเว้นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้ว่า

“เนื่องจากทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจึงจำเป็นต้องสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สาธารณะผู้มีอำนาจควรจะสามารถเรียกร้องข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลซึ่งมีความจำเป็นต่อ ผลประโยชน์ของสังคม ตามที่เข้าใจภายใต้กติกานี้เท่านั้น ดังนั้น คณะกรรมการจึงแนะนำให้รัฐต่างๆ ควรระบุในรายงานของตนถึงกฎหมายและข้อบังคับที่ควบคุมการแทรกแซงที่ได้รับอนุญาตต่อชีวิตส่วนตัว” (https://www.refworld.org/docid/453883f922.html)

ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”

ความเป็นส่วนตัว เป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวพันกับหลายสิทธิ นักวิชาการสิทธิมนุษยชนบางคน เชื่อว่าความเป็นส่วนตัวจะต้องมีข้อจำกัดบางประการเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการอ้างที่ไม่ชอบธรรม โดยเห็นว่าบุคคลควรสละการอ้างสิทธิความเป็นส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ กรณีนอนนานชั้น14 กระทรวงยุติธรรมจึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบและระมัดระวังในการคุ้มครองครองความเป็นส่วนตัว กับการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะการยืนยันหลักความเท่าเทียม การไม่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อรักษาหลักใหญ่ของหลักนิติธรรม (Rule of Law)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

'รทสช.' ลั่นเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทุกประการ!

'รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนเดิมที่มั่นคงแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ยันการทำประชามติ 3 ครั้งใช้งบมาก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลและรัฐธรรมนูญ

พรรคร่วมรัฐบาลเคาะ 'ทำประชามติ' 3 รอบ เข้า ครม. อังคารนี้

'ภูมิธรรม' คอนเฟิร์มทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย ชง ครม. อังคารนี้ คาดทำรอบแรกเดือน ส.ค. ซัดกลุ่มจ้องเคลื่อนไหวห้ามปชช.ใช้สิทธิ์ ปัดหารือหัวหน้าพรรคร่วมเรื่องนิรโทษกรรม

อัยการเรียก 'เรืองไกร' ให้ถ้อยคำ คดีร้อง 'เพื่อไทย' ล้มล้างปกครองหรือไม่

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือเชิญจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานอัยการสูงสุด