องค์การอนามัยโลกเปิดเผยในรายงานประจำสัปดาห์ว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดมากที่สุดทั่วโลกขณะนี้ ถูกตรวจพบแล้วใน 57 ประเทศ และยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงในแง่ความรุนแรงของโรค
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยในข้อมูลด้านการระบาดวิทยาประจำสัปดาห์นี้เมื่อวันอังคารว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่พบในสิ่งส่งตรวจไวรัสโคโรนามากกว่า 93% ของทั้งหมดที่รวบรวมได้ใน 1 เดือนที่ผ่านมา โดยประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยหลายชนิด ได้แก่ BA.1, BA.1.1, BA.2 และ BA.3
สายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.1.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยชนิดแรกที่จำแนกได้ ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยกว่า 96% ที่พบในการจัดลำดับทางพันธุกรรมโอมิครอนที่เผยแพร่ผ่านโครงการริเริ่มด้านวิทยาศาสตร์โลก GISAID แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2 ซึ่งมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งจากสายพันธุ์ดั้งเดิม รวมถึงที่โปรตีนหนามบนพื้นผิวไวรัสที่เป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์
รายงานกล่าวว่า ถึงขณะนี้ GISAID ได้รับข้อมูลการพบสายพันธุ์ BA.2 แล้วจาก 57 ประเทศ โดยในบางประเทศนั้น สายพันธุ์ย่อยนี้คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของข้อมูลลำดับพันธุกรรมสายพันธุ์โอมิครอนที่ได้รับ
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ย่อยต่างๆ และควรต้องมีการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะ รวมถึงความสามารถในการแพร่เชื้อ, การหลบหลีกการป้องกันของภูมิคุ้มกัน และศักยภาพในการก่อโรค
ผลการศึกษาหลายชิ้นในช่วงไม่นานมานี้บ่งบอกว่า BA.2 สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม
ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโควิดของ WHO กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับ BA.2 ยังมีจำกัด แต่ข้อมูลเบื้องต้นบางอย่างบ่งชี้ว่า BA.2 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ BA.1
สายพันธุ์โอมิครอนโดยทั่วไปก่อโรครุนแรงน้อยกว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ เช่น เดลตา แต่ฟาน เคอร์โคฟกล่าวว่า ถึงเวลานี้ยังไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่า BA.2 มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของความรุนแรงของโรค
เธอย้ำด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นโควิดสายพันธุ์ใดก็ยังคงเป็นโรคที่อันตราย และผู้คนควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
อึ้ง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยงานวิจัยกลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA 'บูสเตอร์' มีแนวโน้มเข้ารักษารพ.เพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'หมอเดชา' ยก 'อีลอน มัสก์' ประณาม USAID หนุนวิจัยอาวุธชีวภาพ หากยังมีคนเชื่อ mRNA ขอให้ไปที่ชอบๆ
นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า มีข่าวเกี่ยวกับอันตรายจาก วัคซีน โควิด-19 ชนิด mRNA มากมาย ทั้งไทยและทั่วโลก
ศูนย์จีโนมฯ เจาะลึก 'วัคซีนอีโบลา' ออกฤทธิ์ไว หลังฉีด 30 นาที ป้องกันติดเชื้อได้
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เจาะลึกวัคซีนอีโบลาล่าสุด : สร้างเกราะป้องกันได้ใน 30 นาทีก่อนได้รับเชื้อ