อนาคตพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งปีหน้า (ตอนที่ 2) : พรรคเล็ก-พรรคอัตลักษณ์การเมือง (politics of identity)

 

การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (identity politics)  เป็นศัพท์วิชาการทางรัฐศาสตร์ที่ใช้อธิบายแนวการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดจากการที่กลุ่มคนรวมตัวกันด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่น ศาสนา เชื้อชาติ ภูมิหลังทางสังคม หรือชนชั้น หรือปัจจัย เรื่องเพศสภาพ ฯ และออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการลงสมัครรับเลือกตั้ง  โดยมี เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมตามวาระข้อเรียกร้องต่างๆของตน

การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือพรรคการเมืองอัตลักษณ์นี้มักจะมีสาเหตุมาจากประสบการณ์ความอยุติธรรมที่คนในกลุ่มมีร่วมกัน อันนำมาซึ่งการเรียกร้องสิทธิ์เสรีภาพความเสมอภาคและความยุติธรรมทางการเมืองและสังคมที่จะกำหนดวิถีชีวิตหรืออนาคตของตัวเองได้มากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นคือ ปฏิเสธสภาพการที่เป็นอยู่เดิมๆที่พวกตนเห็นว่าถูกบังคับให้ต้องทนกับความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำในสิทธิ์เสรีภาพ 

ในจุดเริ่มต้น พรรคแนวอัตลักษณ์ทางการเมืองมักจะมีขนาดเล็ก เพราะประเด็นที่หาเสียงจะเจาะจงไปเฉพาะกลุ่มมีสิทธิ์เลือกตั้ง  หากพรรคเริ่มขยายประเด็นหาเสียงออกไป ก็อาจจะเสียฐานกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนในตอนเริ่มแรก นั่นคือ เมื่อพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ต่อสู้ให้กับอัตลักษณ์ทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่ง เกิดต้องการขยายฐานให้กว้างมากขึ้น ก็อาจจะสูญเสียประชาชนกลุ่มอัตลักษณ์เดิมที่พรรคประกาศตัวเป็นตัวแทนในการต่อสู้ไป  เช่น สมมุติว่า มีพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่ออัตลักษณ์ทางการเมืองในแนวเพศสภาพและเพศวิถีที่มักเรียกกันว่า กลุ่ม LGBTQ+  และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม LGBTQ+ อย่างเข้มข้นเหนียวแน่น แต่กลุ่ม LGBTQ+ ก็ยังมีปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้พรรคมี สส. ในสภาผู้แทนราษฎรมากพอที่  เมื่อพรรคการเมืองดังกล่าวเกิดขยายประเด็นให้ครอบคลุมกว้างกว่าแค่ประเด็นหรือนโยบายเพื่อ LGBTQ+ ก็อาจจะสูญเสียอัตลักษณ์ทางการเมืองของพรรคไป

หรือบางที พรรคบางพรรคอาจะจะไม่ได้เป็นพรรคอัตลักษณ์ทางการเมืองในตอนแรก แต่เริ่มง่อนแง่น ก็หันไปเป็นเล่นอัตลักษณ์ทางการเมือง เช่น สมมุติว่า พรรคที่ไม่ได้เป็นพรรคเพื่อคนภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แต่หันไปชูการเป็นพรรคคนในภูมิภาค ก็อาจจะได้เสียงเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น แต่เมื่อจะขยายไปเป็นตัวแทนภูมิภาคอื่นๆ ก็อาจจะเสียฐานภูมิภาคนั้นๆไป

ที่ผ่านมาในการเมืองไทย ระบบเลือกตั้งที่เอื้อต่อพรรคการเมืองแนวอัตลักษณ์ทางการเมืองที่สุด คือ ระบบเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวที่เลือกทั้ง สส. เขต/บัญชีรายชื่อ นายกรัฐมนตรีและคะแนนไม่ทิ้งน้ำ เพราะหากพรรคเป็นพรรคเพื่อ LGBTQ+  พรรคก็จะได้เสียงจากบัตรใบเดียวทั้งประเทศ ซึ่งประชาชนที่สนับสนุน LGBTQ+ ในประเทศไทยไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้งใดโดยเฉพาะ แต่จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ในทางอุดมคติ ระบบเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวดังกล่าวจะเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครของพรรคอัตลักษณ์ทางการเมืองที่เป็นพรรคที่เกิดใหม่ได้เข้าสภาผู้แทนราษฎร เช่น อาจจะได้พรรคเพื่อคน LGBTQ+, พรรคกรรมกร, พรรคแนวศาสนา, พรรคสิ่งแวดล้อม/พรรคกรีน ฯลฯ  ซึ่งหากกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองเหล่านี้ แม้มีอยู่แต่ไม่มากนัก เราก็จะได้พรรคอัตลักษณ์ทางการเมืองที่มีขนาดเล็ก-จิ๋วเข้าสภาฯ  แต่ถ้าภายใต้ระบบเลือกตั้งอื่น พรรคแนวนี้ที่เกิดใหม่หรือเกิดมานานแล้วก็ยากที่จะได้ไปตัวแทนของกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆเหล่านี้ในสภาฯ

แต่ในทางที่ไม่อุดมคติ เราก็จะได้ผู้สมัครของพรรคเล็กพรรคจิ๋วที่ไม่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองใดๆเข้าไปในสภาฯ และเกิดการต่อรองในการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล  สาเหตุก็ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปเอง โดยไม่พิจารณาว่า พรรคเหล่านี้ไปเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองหรือเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของตัวเองหรือของใคร 

แต่ในการเลือกตั้งปีหน้าภายใต้ระบบบัตรสองใบ  พรรคที่เรียลไซส์เล็กๆจิ๋วๆที่เคยได้อานิสงส์ ได้ ส.ส. เข้าสภาฯจากระบบบัตรใบเดียว ถ้าไม่ทำใจหยุดเล่นการเมืองชั่วคราว ก็ต้องหาทางเข้าพรรคขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ โดยเอาคะแนนไม่ทิ้งน้ำที่พรรคตัวเองเคยได้ไปโชว์ให้พรรคขนาดกลางหรือขนาดใหญ่เห็นว่า น่าจะช่วยเสริมคะแนนในการเลือก ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อได้ และตัวเองก็ต้องได้เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อด้วย  ส่วน ส.ส. เขตนั้น คงลำบากหน่อย

อย่างเช่น ในการเลือกตั้งปี 2562   พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคโอกาสไทย)  ได้คะแนนเสียง 134,532 คะแนน และมี ส.ส. บัญชีรายชื่อเข้าสภาฯจำนวน 2 คน  เชื่อว่า คนที่เลือกพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยจำนวนหนึ่งน่าจะยังจะเลือกคุณดำรงค์ พิเดชต่อไปในการเลือกตั้งปีหน้า เพราะผู้เขียนตั้งสมมุติฐานว่า คนที่เลือกพรรครักษ์ผืนป่าฯในปี 2562 เลือกเพราะคุณดำรงค์ พิเดช และต้องการสนับสนุนนโยบายรักษ์ผืนป่าฯเป็นหลัก แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคโอกาสไทย  แต่อีกจำนวนหนึ่งก็น่าจะเปลี่ยนใจ เพราะรักษ์ผืนป่าฯกลายเป็นพรรคโอกาสไทยไปแล้ว                                             

ขณะเดียวกัน ก็ใช่ว่าพรรคขนาดเล็กแต่ไม่จิ๋วจะต้องตกระกำลำบากกับระบบบัตรสองใบไปเสียทั้งหมด  เพราะพรรคการเมืองบางพรรคที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยเชื่อมสัมพันธ์กับอัตลักษณ์ของประชาชนในเขตเลือกตั้งอย่างพรรคประชาชาติ ก็จะไม่ต้องมีปัญหาเหมือนกับพรรคแนวรักษ์ผืนป่าฯที่ไม่มีประชาชนในเขตเลือกตั้งใดจะมีอัตลักษณ์รักษ์ผืนป่าฯเป็นส่วนใหญ่ เพราะคนรักษ์ผืนป่าฯน่าจะกระจายไปทั่วประเทศ ถึงทำให้พรรคได้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อมา   

แม้ในทางการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (politics of identity)  พรรคประชาชาติและพรรครักษ์ผืนป่าฯ (โอกาสไทย) ต่างเป็นพรรคการเมืองที่มีอัตลักษณ์ทางการเมืองโดดเด่นชัดเจน แต่พรรคประชาชาติจะได้คะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเหนียวแน่น ดังที่ในการเลือกตั้งปี 2562 พรรคประชาชาติได้คะแนนเสียง 481,490 จากระบบบัตรใบเดียว ส่งผลให้ผู้สมัครพรรคประชาชาติได้รับการเลือกตั้งนระบบแบ่งเขต 6 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด และได้รับจัดสรร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค

ผู้เขียนตั้งสมมุติฐานไว้ว่า ในการเลือกตั้งปีหน้า ถ้าประชาชนในสามจังหวัดภาคใต้ยังเลือกทั้ง ส.ส. เขตและบัญชีรายชื่อในจำนวนเท่าเดิม และไม่มีพรรคการเมืองอื่นสามารถดึงคะแนนไปได้อย่างมีนัยสำคัญ  พรรคประชาชาติก็น่าจะยังคงได้เก้าอี้ ส.ส. ไม่น้อยไปกว่าเดิม

และแม้ว่า ดร. ณหทัย ทิวไผ่งาม รองหัวหน้าพรรคประชาชาติจะย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ด้วยเธอเคยเป็น ส.ส. พรรคไทยรักไทยมาก่อน และเคยดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, โฆษกประจำกระทรวงพาณิชย์                             

การย้ายพรรคของ ดร. ณหทัย ไม่ส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงของพรรคประชาชาติ แต่การไปเป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย  ด้วยคุณสมบัติและประสบการณ์  ดร. ณหทัยจะส่งผลในทางบวกต่อคะแนนเสียงของพรรคในการเลือกตั้งปีหน้าแน่นอน และเชื่อว่า เธอน่าจะอยู่ในสิบอันดับแรกของผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อ

หากจะมองในเชิงการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ พรรครวมไทยสร้างชาติยังไม่มีอัตลักษณ์นอกจากขายลุงตู่ (รวมไทยสร้างชาติอย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะอีกหลายพรรคก็ยังไม่มีอัตลักษณ์ชัดเจน)  อีกทั้งยังไม่เห็นนักการเมืองอย่าง ดร. ณหทัย ทิวไผ่งามที่เป็นนักการเมืองสตรีที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์พร้อมที่จะร่วมเป็นกำลังสำคัญให้กับคุณอุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร และพรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 7)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 19: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 6)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'แม้ว' หักหลังเสื้อแดง ฟันธงเลือกตั้ง 'เพื่อไทย' แพ้ 'ก้าวไกล'

ความพยายามของคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ออกมาปฏิเสธภาพลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยว่า ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมใหม่ แต่เป็นพรรครีฟอร์มมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลัง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 18: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า