ถึงเวลาเปลี่ยนใช้รถเมล์(อีวี)

เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมายาวนาน สำหรับการจัดหารถโดยสารใช้พลังงานไฟฟ้า (อีวี) มาให้บริการแก่ประชาชน เนื่องจากปัจจัยนานัปการที่ทำให้ต้องมีการปรับใช้รถเมล์ไฟฟ้านั้นมาจากเหตุผลที่ว่าเกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานปกคลุมทั่วทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ตั้งข้อสังเกตว่ามลพิษทางอากาศส่วนมากมาจากขนส่งมวลชน

แน่นอนว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม กรมขนส่งทางบก (ขบ.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เร่งผลักดันการใช้รถเมล์ไฟฟ้าตามนโนบายของศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แม้ว่าในส่วนของ ขสมก.จะยังไม่มีรถไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการ

เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างทำแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้ขั้นตอนต่างๆ ต้องได้รับการอนุมัติในการจัดหารถเมล์ไฟฟ้าจากกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อน

แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าเอกชนจะแซงหน้า ขสมก.ในการจัดหารถเมล์ไฟฟ้ามาให้บริการประชาชนไปก่อนแล้ว โดยเมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า สาย 8 หรือสาย 2-38 ภายใต้แนวคิด “We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น” โดย ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการทดลองใช้รถเมล์ไฟฟ้าก่อนที่จะนำไปให้บริการด้วย

โดยกระทรวงคมนาคมมองว่า การเปลี่ยนรถขนส่งสาธารณะจากรถใช้พลังงานที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมประเทศด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 เชื่อว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งตามการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารจะมีสายทางให้บริการจำนวน 237 เส้นทาง แบ่งเป็น ผู้ประกอบการเป็นเอกชนที่มายื่นขอไลเซนส์กับ ขบ.และ ขสมก. โดยเป้าหมายการเปิดให้บริการรถเมล์อีวีจะมีการบรรจุและให้บริการจำนวน 1,250 คันภายในเดือน ธ.ค.นี้

การเปิดเดินรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้รถเมล์ไฟฟ้า สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) โดยบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัดนี้ ถือเป็นการคิกออฟการให้บริการรถโดยสารสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งตามการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารจะมีสายทางให้บริการจำนวน 237 เส้นทาง แบ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นเอกชนที่มายื่นขอไลเซนส์กับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และการให้บริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งการเปิดรถเมล์อีวี สาย 8 ของบริษัท ไทย สมายล์ บัส วันนี้เป็นการเปิดให้บริการรถโดยสารสาธารณะของผู้ประกอบการที่เป็นเอกชน ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ จำนวน 40 คัน

ส่วนอัตราค่าโดยสารจะเป็นไปตามโครงสร้างค่าโดยสารรถปรับอากาศใหม่ที่คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางกำหนดตามระยะทาง 15-20-25 บาท ซึ่งเอกชนได้เสนอการบริการเพิ่มเติม ค่าโดยสาร 40 บาทต่อวัน สำหรับการใช้บริการรถโดยสารของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ทุกเส้นทาง โดยจะเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (E- ticket) สามารถเติมเงินได้ ผู้โดยสารสามารถซื้อได้จากพนักงานที่อยู่บนรถคันดังกล่าว

ถือเป็นของใหม่แกะกล่อง ต้องมีการประเมินคุณภาพด้วย หลังให้บริการกระทรวงคมนาคมจะประเมินผล ปัญหาอุปสรรคการให้บริการในระยะเวลา 60 วัน ว่ามีเรื่องใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อตอบโจทย์ในการให้บริการขับเคลื่อนเป้าหมายตามแผน โดยนำรถเมล์ไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการขั้นต่ำ 5,000 คันในระยะเวลา 3 ปี และขยายเป็น 7,900 คันในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการเดินทางเพิ่ม ในส่วนของ ขสมก. มีแผนนำรถเมล์ไฟฟ้ามาให้บริการปีนี้ประมาณ 400 คัน อยู่ระหว่างการจัดทำทีโออาร์ โดยมีผู้แทนจากองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้ามาร่วมกำหนดทีโออาร์การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้วย

เป็นเรื่องดีๆ สำหรับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ได้ใช้รถเมล์ใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาให้บริการ และตั้งธงว่ามีแผนที่จะดำเนินการไม่เกิน 3 ปีในการเปลี่ยนรถขนส่งสาธารณะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรถเก่าๆ หรือรถร้อนมาเป็นรถไฟฟ้า เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชน เข้าถึงการให้บริการ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสก็สามารถเข้าถึงการให้บริการ ซึ่งจะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามสมมติฐานที่กระทรวงคมนาคมแสดงเจตนารมณ์ ถือว่าประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ต้องแก้ที่โครงสร้าง

เรียกว่า 'ช็อก' ทั้งรัฐบาล สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 1 ของประเทศไทย ที่ทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าจีดีพีของไทยเรา ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวได้เพียง 1.5% ลดลงเมื่อเทียบกับการขยายตัว 1.7% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน

"ขึ้นค่าแรง"เอกชนห่วงธุรกิจป่วน

“การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ” ยังเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะฝั่งรัฐบาลยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าตามนโยบาย โดย พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจนว่า ในวันที่ 1 ต.ค.2567

ปั้น‘โปรตีนทางเลือก’เชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน อาหารแพลนต์เบสในประเทศไทยเริ่มมีมากขึ้น เทรนด์ของคนที่หันกลับมากินอาหารเพื่อสุขภาพก็มีเพิ่มขึ้น จึงทำให้เป็นการผลักดันภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาพ

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้