พัฒนาคอนเทนต์ตีตลาด

โลกของธุรกิจในปัจจุบันที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับปรุง แข่งขัน และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจผ่านคอนเทนต์ก็เป็นเรื่องสำคัญและกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการเกิดขึ้นของกลุ่มคนที่เรียนตัวเองว่าเป็นนักรีวิว หรือยูทูบเบอร์ ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเองก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ในการกระตุ้นยอดขายของธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยทุกช่องทาง

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจโลกภายหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมานิยมการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความช่วยเหลือในกลุ่มผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจตลาด หรือแนวทางการปฏิบัติงานอยู่เช่นกัน ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการให้เข้าสู่ตลาดออนไลน์ สร้างยอดขายฝ่าแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 

จึงได้ดำเนินการผ่านการขยายผลกิจกรรม DIPROM to Creative Content ประจำปี 2565 ปั้นทักษะสร้างสรรค์ให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาคอนเทนต์เพื่อเป็นตัวแทนสื่อสารผลิตภัณฑ์ (Storytelling) ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายให้กับแต่ละธุรกิจได้ไม่น้อยกว่า 10% โดยชูเรื่องการใช้เนื้อหา (คอนเทนต์) เป็นแนวทางหลัก ซึ่งจากที่มีการสำรวจข้อมูลมาแล้วนั้น เห็นได้ว่าจะเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ กระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ไม่น้อยกว่า 70%

และจากข้อมูลนั้น มูลค่าอุตสาหกรรมโฆษณาสื่อดิจิทัล ปี 2564 มีมูลค่ากว่า 23,315 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 11% จากปีก่อน และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท ในปี 2565 ซึ่งมูลค่าการลงทุนในด้านนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนศักยภาพในการสร้างกำไรตอบแทนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ดีพร้อมจึงเข้ามาลุยเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อที่จะส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการในการผลิตและพัฒนาคอนเทนต์ เพื่อกระตุ้นยอดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นปีที่ 2 ที่จัดขึ้นเพื่อผลักดันผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ผ่านการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ (Storytelling) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศไทย (Content Creator) ถ่ายทอดประสบการณ์ในมิติใหม่ที่สามารถต่อยอดการพัฒนารูปแบบที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจของตนเอง

โดยกิจกรรมในปีนี้ ดีพร้อมขับเคลื่อนภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) มุ่งปรับรูปแบบการส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์กับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานเป็นรายบุคคล ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการจำนวนกว่า 100 ราย สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผ่านการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 41 ราย ฝึกฝนทักษะปฏิบัติการและผลิตผลงานจริง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกแบบเนื้อหา ผลิตสื่อทางการตลาด จนถึงขั้นตอนสุดท้าย

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำในเชิงลึกบนมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ คือ การตลาดออนไลน์ในโลกความเป็นจริง ทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค สร้างยอดขายผลิตภัณฑ์ได้เป็นจำนวนมาก โดยภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมพบว่ายอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 10% หรือเป็นจำนวนกว่า 100,000 บาท และคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายตลอด 1 ปีได้ไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านบาท

แน่นอนว่าในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจ จนบางรายอาจจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน แต่หากมีหน่วยงานที่ชี้แนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ก็จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มธุรกิจนั้นๆ สามารถพัฒนาตัวเอง ปรับตัว และทำการตลาดที่สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล