'หมอยง' เตือนสติเสพข่าว 'โอมิครอน' บนสังคมออนไลน์

'นพ.ยง' ชี้หลังโอมิครอนอาละวาดหนัก 2 เดือนทำให้มีองค์ความรู้เรื่องไวรัสเพิ่มขึ้นมาก พร้อมเตือนสติเสพข่าวในยุคโซเชียลต้องแยกแยะให้ได้

2 ม.ค.2564 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 โอมิครอน หลังจากที่มีการระบาดมาแล้ว 2 เดือน” ระบุว่า มีข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับ โอมิครอน เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว

โอมิครอน ระบาดได้รวดเร็วมาก กระจายไปทั่วโลก พบแล้วมากกว่า 140 ประเทศ หรือจะเรียกว่าทั่วโลกก็ได้ แสดงถึงการขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา

โอมิครอน ติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นที่ผ่านมา

ผู้ติดเชื้อ โอมิครอน มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา อัตราผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่า และภาพรวมอัตราการตายของโอมิครอนก็ลดลงกว่าสายพันธุ์ หรือที่มีการระบาดก่อนหน้านี้

การตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT-PCR หรือการตรวจอย่างรวดเร็วด้วย ATK ไม่ได้เปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพ เพราะ RT PCR ส่วนมากเราใช้ยีน N และ RdRp ที่มีความคงที่ ส่วน RDT ก็เป็นการตรวจ nucleocapsid ไม่ใช่เป็นการตรวจหา spike protein ซึ่ง ส่วนของ nucleocapsid มีความเสถียรมากกว่า

โอมิครอน หลบหลีกภูมิต้านทานได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน ไม่ว่าจะเป็น AZ หรือ mRNA ส่วนใหญ่มีเป้าหมายอยู่ที่ spike protein ที่ โอมิครอน มีการเปลี่ยนแปลงมาก จึงทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนที่ผ่านมาลดลง ประกอบกับ ระยะฟักตัวของโรคสั้น จึงต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูงอยู่ตลอดเวลาในการป้องกันการติดโรค เมื่อภูมิต้านทานลดลงก็ไม่สามารถที่จะป้องกันได้ แต่กระบวนการกำจัด หรือหายจากโรค อาศัยระบบภูมิต้านทานส่วนอื่นด้วย จึงทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีน มีอาการของโรคน้อยลง และจะหายจากโรคได้เร็วกว่า

ทุกครั้งที่มีการระบาดเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อสุขภาพร่างกาย เศรษฐกิจ สังคมและจิตใจ ผลกระทบทางจิตใจ ในบางครั้งมีความสำคัญมากกว่าทางร่างกายเสียอีก สังคมปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสาร ถึงกันได้อย่างรวดเร็วมาก มีการสื่อทางสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ในบางข่าวจะมีความจริงเพียงเล็กน้อยและใส่ความเห็นเป็นจำนวนมาก ความเห็นจะมีแนวโน้มเอียง หรือมีอคติได้ ข้อมูลที่ได้จากสื่อสังคม จะต้องพิจารณาแยกแยะให้ได้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)