เปิดผลวิจัย 'ธุรกิจสวนกล้วยจีนในลาว' ใช้สารเคมีหนัก คนเจ็บป่วยอื้อ แย่งชิงน้ำ

เผยผลวิจัยธุรกิจสวนกล้วยจีนในลาว นักวิชาการระบุสร้างผลกระทบต่อชาวบ้าน-สิ่งแวดล้อมเหตุใช้สารเคมีเข้มข้น ชาวบ้านป่วยตายจนทางการลาวสั่งห้ามสัมปทานแต่ย้ายฐานไปพม่า-กัมพูชา

20 กันยายน 2565 - ผศ.ดร.เสถียร ฉันทะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จ.เชียงราย เปิดเผยถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจเกษตรข้ามชาติของจีนและผลกระทบกรณีศึกษาการทำสวนกล้วยในประเทศลาว ว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คนจีนเข้ามาทำกิจการในลาวจำนวนมาก โดยเฉพาะการทำธุรกิจการเกษตร ทั้งการทำสวนกล้วย ปลูกฟักทอง นอกจากนี้ยังมียางพารา การปลูกข้าวโพด แต่ที่เห็นชัดคือพืชระยะสั้น เช่น ฟักทอง แตงโม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของธุรกิจจีนในลาวเป็นอย่างไรนั้น ตนเองได้เข้าไปดูที่แขวงบ่อแก้วเป็นหลักโดยเฉพาะในส่วนของกล้วย

ผศ.ดร.เสถียรกล่าวว่า กล้วยส่งผลกระทบต่อวิธีชุมชนทั้งบวกและลบคือในทางบวกนั้นทำให้มีการสร้างรายได้ แต่ในทางลบคือชาวบ้านได้รับผลกระทบจากสารเคมีและขยะ โดยมีหลายแขวงที่นักธุรกิจจีนเข้าไปทำสวนกล้วยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2555 จำนวน 7 บริษัท ใน 5 เมือง โดยมีการบริหารจัดการแรงงานคือทั้งอยู่ประจำและไป-กลับ ซึ่งที่เมืองต้นผึ้งเป็นเมืองหนึ่งที่มีการปลูกกล้วยในพื้นที่จำนวนมาก โดยแรงงานที่อยู่ประจำในสวนกล้วยมักอยู่ได้ไม่ถึง 3 ปีก็เจ็บป่วยจากสารเคมี บางคนเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีปัญหาการแย่งชิงที่ดินระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน และมีการร้องเรียนไปยังรัฐบาลกลางของลาวจนเป็นเหตุให้มีการยุติการขยายพื้นที่ให้สัมปทานการปลูกกล้วย และ เมื่อปลูกกล้วยไม่ได้ทำให้นายทุนจีนหันไปปลูกอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง เดือย และทำปศุสัตว์โดยทุนจีนเหมือนเดิม ทั้งนี้ล่าสุดยังมีสวนกล้วยอยู่แต่ไม่ให้สัมปทานเพิ่ม

“ข้อค้นพบคือการปฎิบัติการข้ามชาติของทุนจีน เป็นการเกี้ยเซียะผลประโยชน์ของรัฐต่อรัฐ และรัฐต่อพ่อค้าชาวจีน ส่งผลกราะทบต่อเรื่องทรัพยากรและสุขภาพ โดยชุมชนพยายามต่อรองให้ยุติการสัมปทานเพิ่มซึ่งก็สำเร็จเพราะรัฐบาลลาวให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ นโยบายของจีนและลาวตกลงกันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐปลายทางยอมรับทุนจีนคือเรื่องของความช่วยเหลือ”ผศ.ดร.เสถียร กล่าว

นักวิชาการผู้นี้กล่าวด้วยว่า ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่เจอในประเทศลาว เรื่องของกล้วยไม่ใช่เป็นปัญหาพืชกล้วยๆแต่เป็นเรื่องของการแย่งชิงทรัพยากร แย่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่โดยเฉพาะคนตัวเล็กตัวน้อย ขณะที่มีการใช้สารเคมีหลายตัวมาก จนไม่รู้ว่าใช้ตัวไหนเป็นหลัก ที่สำคัญคือเขียนเป็นภาษาจีน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบ

ผศ.ดร.เสถียร กล่าวว่าการจ้างงานทำสวนกล้วยในลาว มี 3 แบบคือ แรงงานแบบอยู่ถาวรส่วนใหญ่เป็นลาวสูงคือม้ง เข้ามาอยู่ราว 3 ปีก็ต้องไปเพราะป่วย แรงงานชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นลาวเทิงและลาวลุ่มบางส่วน ซึ่งเป็นการเช่าที่จากชาวบ้าน แต่บางทีนายทุนจีนก็ไม่จ่ายค่าเช่า ที่สำคัญบางครั้งเมื่อปรับเป็นแปลงขนาดใหญ่ ทำให้ชาวบ้านไม่รู้แนวเขตเพราะมีการปรับลำน้ำคูคลองใหม่หมด

“การเข้ามาของทุนจีน กล้วยมาทีหลังแทนยางพาราและพืชล้มลุก เพราะให้ผลตอบแทนที่สูง และในจีนปลูกกล้วยได้เฉพาะตอนใต้ แต่การเช่าที่ดินราคาแพงขึ้น เมื่อลาวไม่ให้ขยายสัมปทาน ทุนเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปในพม่าและกัมพูชา”นักวิชาการผู้นี้กล่าว

ผศ.ดร.เสถียรกล่าวว่า ระบบแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในลาวนั้น ลาวมีกฏหมายคุ้มครองเช่นกัน แต่เจ้าหน้าที่รัฐลลาวไม่ได้เข้าไปดูว่าคนเหล่านี้เข้าถึงกระบวนการคุ้มครองหรือไม่ กฎหมายมีอยู่แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ และฐานข้อมูลแรงงานก็ไม่มีชัดเจนว่ามีคนงานจำนวนเท่าไร ดังนั้นการคุ้มครองเรื่องสิทธิสุขภาพจึงไม่ปรากฏ ขณะที่ทุนจีนพยายามลดความขัดแย้งโดยการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคต่างๆรวมถึงโรงเรียน สุขศาลา

เมื่อถามว่าการปลูกกล้วยโดยใช้สารเคมีเข้มข้นแต่ทำไมถึงส่งกลับจีนได้ ผศ.ดร.เสถียรกล่าวว่า กล้วยส่งกลับไปขายจีน แต่เวลาเก็บผลการตัดชุบน้ำยาและขนย้าย พื้นที่เก่าในลาวเริ่มลดลงเพราะจีนไม่เปิดชายแดนให้กล้วยเข้าในช่วงโควิด จึงส่งไปที่คาสืโนต้นผึ้ง รัฐบาลลาวพยายามควบคุมเรื่องสารเคมี แต่เขาไม่รู้ว่าเป็นประเภทไหนเพราะเป็นภาษาจีนหมด

“คนงานอยู่3 ปีเริ่มป่วย ก็จะถูกเลิกจ้างเพราะคนจีนไม่อยากรับภาระ เขาก็ยังหาคนงานมาแทนได้ตลอด การอยู่สวนกล้วยมีรายได้แน่นอนกว่า ทั้งแบบรายวันและรายเดือน ขึ้นอยู่กับทำงานอะไร หรือทำงานในรูปแบบไหน เช่น เหมาดูแลเป็นแปลงโดยนับเป็นจำนวนต้น”ผศ.ดร.เสถียร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ผบช.ก.' สั่งเร่งสืบสวนเอาผิด 'แก๊งลอบขนสารพิษ' เข้าสมุทรสาคร

พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เปิดเผยว่า จากกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พบกากแคดเมียมก่อมะเร็งซุกในบริษัทหนึ่ง

มท.2 ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ตรวจตลิ่งริมแม่น้ำอิง ก่อนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอกภพ เพียรพิเศษ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)