ชาวแม่สะเรียง ยื่น 5 พันรายชื่อ ค้านประทานบัตรเหมืองโรงโม่หิน จี้ผู้ว่าฯให้คำตอบ

12 มิ.ย.2566 - มีการประชุมกำนันผู้ใหญ่อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยช่วงหนึ่งตัวแทนภาคประชาชน ได้เข้าไปแจกแผ่นพับและทำความเข้าใจกับกำนันผู้ใหญ่บ้านกรณีบริษัทเอกชนได้ขอสัมปทานโรงโม่หินและเหมืองในพื้นที่ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวอำเภอแม่สะเรียง ทำให้ประชาชนร่วมกันคัดค้าน โดยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดคัดค้านไม่เอาเหมืองหินหวั่นเกิดผลกระทบต่อชุมชน หลังบริษัทยื่นขอประทานบัตรโรงโม่หินต่อสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่บ้านโป่งดอยช้าง บ้านท่าข้ามใต้ ต.บ้านกาศ และบ้านแพะ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง อาจจะได้รับผลกระทบ

ดร.ทองทิพย์ แก้วใส ตัวแทนผู้คัดค้านกล่าวว่า ไม่รู้ความเป็นมาของโรงโม่หินที่จะตั้งขึ้นภายใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เลย มาทราบเมื่อมีการยื่นขอประทานบัตรกับทางสภาอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน แล้วทางสภาอุตสาหกรรมทำหนังสือแจ้งมา โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบเช่น หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 13 เป็นต้น

“พอได้เห็นผมก็ตกใจว่ามาถึงขั้นนั้นแล้วได้อย่างไร ทำไมเราไม่รู้เรื่อง ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดบอกว่าถ้าขัดข้องให้ทำหนังสือภายใน 30 วัน ผมก็เลยร่างหนังสือคัดค้านในฐานะภาคประชาชน คิดว่าทางผู้นำชุมชนรู้เพราะมีการไปดูงานกันแล้วไม่บอกชาวบ้าน เราต้องรีบคัดค้านไม่อย่างนั้นจะมีข้อที่เสียเปรียบมาก” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ดร.ทองทิพย์ ยังกล่าวด้วยว่า ล่าสุดภาคประชาขนได้ทำการยื่นหนังสือให้กับทาง อ.แม่สะเรียง ส่งไปยังผู้ว่าราชการ จ.แม่ฮ่องสอน มีชาวบ้านประมาณ 500 คนมาร่วม

“ผมอยากคุยกับกำนันผู้ใหญ่บ้านให้เข้าใจผลกระทบถ้าเหมืองทำได้ 30ปี ชาวแม่สะเรียงจะเหมือนตายทั้งเป็น ผมเคยขอทางผู้อำนวยการ รร.แม่สะเรียงบริพัตรศึกษา คุยกับนักเรียนหน้าเสาธง ขอชื่อนักเรียนมาแล้วด้วย วันเสาร์มีประชุมผู้ปกครองทั้งเช้าและบ่ายผมก็เข้าไปคุย ถ้าเดินตามระบบราชการ เราแพ้แน่ต้องใช้พลังภาคประชาชนร่วมกัน หลังยื่นหนังสือให้กับ อ.แม่สะเรียงแล้ว ผมคุยกับทีมงานไว้ว่าสัปดาห์นี้จะดูว่าจังหวัดจะว่าอย่างไร ถ้าไม่มีความเคลื่อนไหว สัปดาห์หน้าทีมงานจะขึ้นไป ถ้าบริษัทยังขับเคลื่อนเราจะชุมนุมใหญ่ในอ.แม่สะเรียง คาดว่าจะมีทั้งนักเรียน ภาคประชาชนและทุกฝ่ายเข้าร่วมนี่คือแผนที่วางไว้” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ดร.ทองทิพย์ กล่าวด้วยว่าได้ยื่นหนังสือถึงหน่วยงานความมั่นคงให้ช่วยปกป้องประชาชนแล้ว ซึ่งโดยส่วนตัวรู้จักกับผู้การทหารพราน กรมทหารพรานที่ 3 แล้วเหมืองหินที่จะสร้างนี้มีพื้นที่ดินตีนดอยกรมทหารพรานด้วย

“แนวทางการขับเคลื่อนหลังจากชุมนุมใหญ่ถ้าไม่สำเร็จ ผมมีไม้ตายคือจะถวายฎีกา นี่เป็นไม้สุดท้ายให้กับคนแม่สะเรียง ผมเคยบอกกับหน่วยงานรัฐแล้วว่าไม่ใช่ชาวแม่สะเรียงปฏิเสธความเจริญ แต่ความเจริญมีหลายรูปแบบ ถ้าความเจริญทำลายสุขภาพทำลายชีวิตของคนแม่สะเรียง ผมต้องคัดค้าน” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ด้านนายพงศ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ นายกสมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน กล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้มีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำอำเภอ โดยภาคประชาชนได้ชี้แจงสร้างความเข้าใจพร้อมแจกแผ่นพับกรณีบริษัทจะมาทำโรงโม่หินซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วย

นายพงศ์พิพัฒน์ กล่าวว่า โรงโม่หินเคยเชิญผู้นำชุมชนไปดูงานที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ก็ยังไม่มีการติดประกาศให้ชาวบ้านรู้เรื่องขอประทานบัตร

“กรณีนี้ค่อนข้างจะเร็ว บริษัทติดป้ายขอสำรวจพื้นที่ตรงที่ขอประทานบัตร ทางอุตสาหกรรมจังหวัดเลยทำหนังสือมาว่าถ้ามีพื้นที่ทำกินติดกับพื้นที่ดังกล่าวให้มาแจ้งภายใน 30 วัน แต่ชาวบ้านเห็นแล้วว่าอาจมีการระเบิดหิน ไม่เอาอยู่แล้วไม่เห็นด้วยเลยยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราขการจังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัดผ่านนายอำเภอ เราอยู่ในพื้นที่ตัวอำเภอแม่สะเรียงห่างไม่ถึง 1 กิโลเมตรมีความกังวลร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งจุดนี้เคยมีการขอสัมปทานเหมืองแร่ครั้งหนึ่งแล้วประมาณ 20 กว่าปี ชาวบ้านกลัวกลับมาซ้ำ การทำอุตสาหกรรมโรงโม่หินอาจส่งผลกระทบซึ่งปัจจุบันมีภาวะโลกร้อน ส่งผลต่อสุขภาพ แล้วพื้นที่สัมปทานติดชุมชน วัด โบสถ์กลัวผลกระทบสั่นสะเทือนจากระเบิดหิน ฝุ่น มีผลต่อสุขภาพก็เลยไม่อยากให้มีสัมปทานในฐานะคนในชุมชน คนในอำเภอจะเจอกับสภาวะแบบนี้อย่างไรผมเห็นร่วมกับคนในขุมขนและร่วมคัดค้านด้วย” นายพงศ์พิพัฒน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางกลุ่มผู้คัดค้านได้ร่วมกันลงชื่อสำหรับบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการให้ประทานบัตรทำเหมืองในครั้งนี้โดยล่าสุดมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 5,300 คน นอกจากนี้ ประชาชนในหลายสาขาอาชีพต่างร่วมใจกันติดป้ายรณรงค์ไม่เอาเหมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวสาละวิน ร้อง กสม. หลังถูกอุทยานฯยึดที่ดิน-ดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย 2.3 แสน

ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ก๋อน หมู่ที่ 5 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 20 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่และทำกินในป่าบริเวณนี้มาก่อนอุทยานแห่งชาติสาละวิน ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (3) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่ฮี้ จ.แม่ฮ่องสอน “คนเมืองปายสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว”

ในปี 2567 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรอายุ

ชาวกาญจนบุรี ร้องตรวจสอบโรงโม่หิน ฝุ่นฟุ้งกระจาย หน่วยงานรัฐแจงไม่พบมลพิษ

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า มีโรงโม่ในบริเวณเทือกเขาแรต ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี และ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มีการประกอบการเดินเครื่องโม่บดละเอียดทำให้มีฝุ่นลอยฟุ้งในอากาศจำนวนมาก

ภาคประชาชนยื่น 14,000 ชื่อ เสนอร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง หวังไทยเป็นเซ็นเตอร์ 'นวัตกรรม -สุขภาพ'

ที่รัฐสภา ภาคีเครือข่ายกัญชา กัญชง ม่าง (ภาคประชาชน) สมาคมสร้างสรรค์เกษตรกรไทย สมาคมม้ง สมาคมพ่อค้าม้ง สมาคมม้ง กรุงเทพฯ