แห่ชม 'ฝนดาวตก' คึกคัก! มากสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง

15 ธ.ค. 2566 – ที่ จ.เชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยบรรยากาศและภาพกิจกรรมคืนฝนดาวตกเจมินิดส์ปีนี้มีปริมาณมากสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง บรรยากาศเฝ้าชมปรากฏการณ์คืนวันที่ 14 – รุ่งเช้า 15 ธ.ค. ชาวไทยทั่วประเทศไม่ผิดหวัง เริ่มเห็นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เนื่องจากไร้แสงจันทร์รบกวน บางดวงมีลักษณะเป็นลูกไฟขนาดใหญ่พาดผ่านฟ้าสวยงามมาก ด้านสื่อสังคมออนไลน์คึกคักขึ้นอันดับเทรนด์ไทยยอดนิยม

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ฝนดาวตกอย่างมาก เนื่องจากเป็นคืนข้างแรมไร้แสงจันทร์รบกวนตลอดคืน ผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ปราศจากแสงรบกวน มีทัศนวิสัยท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆบดบัง สามารถชมความสวยงามของฝนดาวตกกันได้อย่างเต็มตา ซึ่ง สดร. ได้จัดกิจกรรมชมฝนดาวตกเจมินิดส์ที่สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมคึกคักกว่า 1,300 คน ปักหลักชมฝนดาวตกกันเต็มพื้นที่ สามารถสังเกตฝนดาวตกได้หลายดวงและเห็นดาวตกชนิดลูกไฟ (Fireball) หลายสิบดวง เมื่อมีผู้พบเห็นฝนดาวตกก็ต่างส่งเสียงร้องชี้ชวนกันให้ดู สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน อบอุ่นและน่าประทับใจตลอดคืน

นอกจากนี้ สดร. ยังจัดกิจกรรมที่หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนทั้ง 4 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทราและสงขลา นอกเหนือจากการชมฝนดาวตกแล้ว ยังตั้งกล้องส่องวัตถุท้องฟ้าในคืนดังกล่าว อาทิ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี กาแล็กซีแอนโดรเมดา เนบิวลานายพราน เป็นต้น มีผู้สนใจเดินทางเข้าร่วมจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม พื้นที่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยมีเมฆมากและฝนตก จึงสังเกตการณ์ได้ค่อนข้างยาก

สำหรับฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ จะเกิดในช่วงระหว่างวันที่ 4 – 20 ธันวาคม ของทุกปี มีศูนย์กลางการกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่ เกิดจากโลกเคลื่อนผ่านสายธารของเศษหินและฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) หลงเหลือทิ้งไว้เมื่อครั้งเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเศษหินและฝุ่นเหล่านั้นเข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ปรากฏให้ผู้สังเกตการณ์บนโลกเห็นเป็นลำแสงคล้ายลูกไฟสว่างวาบเคลื่อนผ่านท้องฟ้า โดยฝนดาวเจมินิดส์ในครั้งถัดไป คาดว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2567

ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลปรากฏการณ์น่าติดตามอื่น ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือโทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250 E-mail: [email protected] Website : www.narit.or.th , Facebook: www.facebook.com/NARITpage, X : @NARIT_Thailand, Instagram: @NARIT_Thailand, TikTok: NARIT_Thailand.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง เผยเหตุไม่สงบประเทศเพื่อนบ้าน ทำยอดยึดยาบ้าพุ่ง 3 เท่า

พลตรีประพัฒน์ พบสุวรรณ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมืองในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ส่วนแยก 2 ได้แถลงผลการปฏิบัติงานของกองกำลังผาเมือง/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ส่วนแยก 2 ในห้วง 7 เดือน

‘ผู้ว่าฯเชียงใหม่’ ไม่ท้อแก้ฝุ่น PM 2.5 ล่าสุดสถิติเอาไม่อยู่ เกินเป้าที่กำหนดแล้ว

การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ยังคงต้องดำเนินการต่อไปและขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดอย่างเต็มที่

สั่งปิดป่าเชียงดาวตัดตอนลอบเผา

นายนิวัติ บุญมาวงศ์ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าเชียงดาว เลขาฯศูนย์สั่งการฯ War room แก้ปัญหาไฟป่าพื้นที่บูรณาการฯ ขสป.เชียงดาว รายงานผลการปฏิบัติควบคุมไฟป่าบริเวณพื้นที่ดอยนาง

ผวาฮีตสโตรก! 'สาธารณสุขเชียงใหม่' เตือน ปชช. 25 อำเภอ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า อากาศในช่วงนี้อุณหภูมิสูงร้อนอบอ้าวจากอิทธิพลความกดอากาศต่อเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน

พายุฤดูร้อนถล่ม 4 จังหวัดภาคเหนือ บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มเพียบ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรายงานจาก สอต.พะเยา สอต.เชียงใหม่ สอต.แพร่ และ สอต.เชียงราย เกี่ยวกับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน วาตภัย เหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 19 เม.ย.67 ในพื้นที่ ดังนี้

วธ.เปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ชวนสัมผัสวัฒนธรรมล้านนาฉลองมรดกโลก

15 เม.ย.2567 - สงกรานต์เชียงใหม่คึกคัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่