หน้าตาการเมืองไทยสำคัญที่สุดอยู่ที่ “ผลการเลือก” ของแต่ละพรรคการเมือง จากนั้นจะต้องว่ากันที่ “เกมจัดตั้งรัฐบาล” ซึ่งสำคัญกว่า ต้องจับตาว่าจะมีใครปาดหน้าพรรคที่มีคะแนนเป็นอันดับ 1 อีกหรือไม่ และอีกประการต้องติดตามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะแขวนไม่ประกาศรับรองกี่เขต หรือจะมีประกาศยุบพรรคการเมืองบ้างหรือไม่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้การเมืองปั่นป่วนได้ แม้การเลือกตั้งจะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม
โฟกัส “5 วัน” สุดท้ายก่อนวันตัดสิน อาทิตย์ที่ 14 พ.ค.นี้ ผลโพลสำรวจคะแนนนิยมของประชาชนพอเป็นกรอบกว้างๆ ให้เห็นว่าขณะนี้ฝ่ายก้าวหน้า ทั้งเพื่อไทย และก้าวไกล นำห่างฝ่ายอนุรักษนิยมพอสมควร แต่ต้องละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า โพลคือการออกไปเก็บข้อมูลแบบสุ่มตัวอย่างเพียงไม่กี่พัน กี่หมื่นความเห็นของประชาชนเท่านั้น
ทว่า พรรคเพื่อไทยและก้าวไกลต่างมั่นอกมั่นใจจนขณะนี้กล้าเปิดเผยแล้วว่าเงื่อนไขการเป็นรัฐบาลของตัวเองมีอะไรบ้าง สำหรับ “อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตเพื่อไทย ระบุว่า พรรคที่มาร่วมกันนั้นต้องมีนโยบายตรงกัน นายกรัฐมนตรีมาจากพรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญต้องมาจากพรรคเพื่อไทย
ขณะที่ก้าวไกล “ชัยธวัช ตุลาธน” เลขาธิการพรรค เปิดเผยว่า ข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับจำนวน ส.ส.ของพรรค ทั้งการลงประชามติถามประชาชนว่าต้องการจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ จะปฏิรูปกองทัพโดยเริ่มต้นจากการยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร สุราก้าวหน้า และสมรสเท่าเทียม ยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช.ที่ไปลดอำนาจของท้องถิ่น แก้กฎหมายเพิ่มส่วนแบ่งของภาษีสำคัญให้กับท้องถิ่น และจัดทำประชามติถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นความเคลื่อนไหวของ 2 ม้าตัวเต็งในการเลือกตั้งปี 66
ส่วนกลุ่มอนุรักษนิยมแต้มยังเป็นรองทุกประตู โดยในฝ่ายเดียวกันนั้น “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ดูเป็นความหวังมากที่สุด ด้วยจุดยืนของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ชัดเจนไม่เอาระบอบทักษิณ จึงทำให้ได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่ “ประชาธิปัตย์” ที่แต่ก่อนยืนซดกับระบอบดังกล่าวอยู่พรรคเดียว
บัดนี้ภายใต้การนำในยุค “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” ออกแนวสงบปากสงบคำ อ้างมารยาททางการเมือง “ไม่ขอวิจารณ์” จึงทำให้ระยะหลังความนิยม “พรรค” รวมถึง “ตัวหัวหน้า” ไม่มีกระแสเป็นที่พูดถึงเหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจาก พล.อ.ประยุทธ์เป็นอย่างมาก ส่งผลให้การหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ยุคนี้เหนื่อยยากแสนเข็ญเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้โดน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์เจาะพรุน เผลอๆ พี่น้องปักษ์ใต้จะกาให้ “รวมไทยสร้างชาติ” ทั้ง 2 ใบแบบไม่สนตัวผู้สมัครจะหน้าเก่า หน้าใหม่ มีผลงานหรือไม่มีผลงาน เพราะอย่างน้อยก็อุ่นใจ “พล.อ.ประยุทธ์” เอาอยู่!!
ยิ่งตอนนี้ “โทนี่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ประกาศเป็นมั่นเหมาะ “ไม่ต้องกังวลว่าผมจะเป็นภาระพรรคเพื่อไทย ผมจะเข้าสู่กระบวนการกฎหมาย และวันที่ผมกลับยังเป็นช่วงรัฐบาลรักษาการของ พล.อ.ประยุทธ์อยู่ ทั้งหมดคือการตัดสินใจของผมเองด้วยความรักผูกพันกับครอบครัว/แผ่นดินเกิดและเจ้านายของเรา”
รุ่นเก๋าคนใต้หลายคนไม่ปลื้ม “ทักษิณ” เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เจอแบบนี้เข้าไปมีสะพรึง คิดเอาเองแล้วกันเขาจะฝากผีฝากไข้กับใคร? ระหว่าง “พล.อ.ประยุทธ์” กับ “นายจุรินทร์”
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร แม้กระแสประชาธิปัตย์ไม่มี แต่เชื่อว่าจะไม่มีอะไรแย่กว่าการเลือกตั้งคราวที่แล้วที่สูญพันธุ์ไม่ได้แม้แต่เก้าอี้เดียว อย่างน้อยที่สุดมีการประเมินกันว่าน่าจะได้ ส.ส.จาก 3 เขตเลือกตั้งด้วยความสามารถของตัวบุคคลในพื้นที่ล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับกระแสพรรค เพราะอย่างไรเสียเรื่องกระแสนิยมนั้นสู้เพื่อไทยและก้าวไกลไม่ได้เลย
เรียกว่า “ประชาธิปัตย์” หืดขึ้นคอ นาทีนี้ป้องกันแชมป์ยังร้อนๆ หนาวๆ ความหวังที่ว่าจะได้ที่นั่งเพิ่มคงต้องอาศัยความสามัคคีและผนึกกำลังอย่างเหนียวแน่น เพราะต้องสู้ทั้งกับกระแส กระสุนที่จะอัดแน่นๆ ช่วงโค้งสุดท้าย
การปรับยุทธศาสตร์ใน 5 วันอันตราย เพียงแค่มีภาพ “หัวหน้าจุรินทร์” ทำหน้าพริ้มอบอุ่นหัวใจที่ได้อยู่ในอ้อมกอดของ “พล.อ.ประยุทธ์”, การตอกย้ำจุดยืน “4 ทำ 3 ไม่”, การขอให้ชาวบ้านเชื่อมั่นประชาธิปัตย์พาชาติรอด หรือแม้แต่การยืนยันเลือกประชาธิปัตย์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังคงอยู่แน่นอนนั้น ขณะเดียวกันปล่อยให้ลูกหม้อของพรรคคอยอัด “พล.อ.ประยุทธ์” อยู่ข้างหลัง คงยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พรรคกลับมารุ่งเรืองเหมือนตอนได้ ส.ส.เป็นร้อยๆ คน
หลังทราบผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. ช็อตต่อไปสำหรับประชาธิปัตย์คือ เลือกหัวหน้าพรรครอบใหม่ เนื่องจาก “จุรินทร์” ครบวาระ 4 ปี คงต้องจับตาไปที่ตัวหัวหน้าและทีมกรรมการบริหารพรรค ยังจะเป็นชุดเดิมหรือจะปรับเปลี่ยนอย่างไร.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลอยตัวเกมอำนาจ 'คนมีสี' ฟื้นเศรษฐกิจชิงความนิยม
การจัดลำดับความสำคัญของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ในการบริหารประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าเป้าหมายสำคัญคือการพิสูจน์ “แนวทาง” ของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่ยุค “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นต้นมา
โจทย์ใหญ่ “บิ๊กต่อ” ว่าที่ ผบ.ตร.คนที่ 14 กู้วิกฤตศรัทธากลับคืนองค์กรตำรวจ
เคาะจบเรียบร้อย ด้วยมติ 9 ต่อ 1 งดออกเสียง 2 คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร. มีมติเห็นชอบ “บิ๊กต่อ”- พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร.อาวุโสอันดับ 4 ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนที่ 14
เส้นทาง “ทรงวิทย์-เจริญชัย” สู่โจทย์กองทัพยุคใหม่
แม้จะยังไม่ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) อย่างเต็มตัว แต่ พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รอง ผบ.ทสส. และ พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ รอง ผบ.ทบ.ก็เริ่มทำหน้าที่ในช่วงรอยต่อแล้ว
'กรมปทุมวัน' ระอุ! ชิงเก้าอี้ 'ผบ.ตร.' เชือดพนันออนไลน์ สกัดขา 'บิ๊กโจ๊ก'
กรมปทุมวัน ระอุ! ก่อนวันเคาะชื่อ ผบ.ตร.คนที่ 14 เพียง 2 วัน ที่กำหนดการ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะเดินทางเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วงบ่ายวันที่ 27 ก.ย. เสนอชื่อว่าที่ “พิทักษ์ 1” ให้คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) พิจารณาคัดเลือกตาม พ.ร.บ.ตำรวจฉบับใหม่
ชัยธวัชมา-ปดิพัทธ์..? กับทางออก เก้าอี้รอง ปธ.สภาฯ
ก่อนที่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะนำชื่อ ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้ทรงแต่งตั้งเป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทางประธานสภาฯ คงรอให้ได้ข้อยุติในเชิงข้อกฎหมายเสียก่อน ถึงจะนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
‘เศรษฐา’ ถูกจับตาทุกฝีก้าว ‘พรรคส้ม’ เจอภาวะผีซ้ำด้ำพลอย
ถึงกับต้องออกมาชี้แจงข้ามแดน ไม่ให้ปัญหาลุกลามใหญ่โต หลังจากนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมาดักคอว่า ได้ยินกระแสข่าว "เสี่ยนิด" นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง