เศรษฐกิจไทยกระทบหนัก ‘สภาพัฒน์’ หั่นจีดีพีปี 65 เหลือ 3%

‘สภาพัฒน์’ เปิดตัวเลข จีดีพีไตรมาส 1/65 ขยายตัว 2.2% ปรับทั้งปีลดลงเหลือ 2.5 – 3.5% จากความไม่แน่นอนสถานการณ์โลก ชี้ส่งออก-ท่องเที่ยวช่วยพยุงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จับตาความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ทำเศรษฐกิจกระทบทั่วโลก

17 พ.ค.2565 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส1/ 2565 และแนวโน้มปี 2565 ว่าจีดีพีไตรมาสมา1/2565 ขยายตัว 2.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนโดยการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ผ่านมา และจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในต่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์การสู้รบในยูเครน-รัสเซีย ที่ยืดเยื้อยาวนานกระทบกับเศรษฐกิจโลก สศช.ได้ปรับคาดการณ์จีดีพีทั้งปี 2565 ลงจากระดับ 3.5 – 4.5% เหลือ 2.5 – 3.5% หรือค่ากลางที่ 3 %

สำหรับการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.9% การลงทุนรวมขยายตัว 0.8% จากไตรมาส 4 ชะลอตัว -0.2% การบริโภคภาครัฐขยายตัว 4.6% ต้องเร่งรัดโครงการลงทุนให้มากขึ้น มูลค่าการส่งออกขยายตัว 14.6% จากไตรมาส 4 ขยายตัว21.3% ที่ผ่านการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไปจีนยังมีข้อจำกัด จากการเข้มงวดพิธีการส่งออก โดยเฉพาะเมื่อจีนดำเนินโยบายซีโร่โควิด จึงกระทบต่อการส่งออกของไทยไปจีน แม้การฉีดวัคซีนของไทย 2 เข็มมากกว่า 50% การแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ยังต้องเฝ้าระวัง

“จากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกขณะนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก และจากสถานการณ์ของเศษฐกิจโลกที่ไม่ปกติได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก จึงขอความร่วมมือให้ช่วยกันต้องร่วมมือร่วมใจให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าผ่านวิกฤติไปด้วยกัน โดยรัฐบาลและภาครัฐจะต้องมีการช่วยเหลือประชาชน แต่เป็นการช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า เนื่องจากทรัพยากรมีข้อจำกัด ขอให้ประชาชนช่วยกันใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนที่จะไปเที่ยวในต่างประเทศ”นายดนุชา กล่าว

สำหรับการปรับคาดการณ์จีดีพีลงในปีนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ในต่างประเทศ ราคาพลังงาน และเงินเฟ้อเป็นหลัก โดยเฉพาะสถานการณ์ในต่างประเทศที่เริ่มมีการจำกัดการส่งออกวัตถุดิบในเรื่องปุ๋ย อาหาร เช่น ข้าวสาลี ซึ่งไทยต้องพึ่งพาตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะมีผลกระทบได้มากที่ต้องดูให้ดี รวมทั้งในเรื่องของชิปที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง ในระยะต่อไปคงต้องใช้วัตถุดิบทดแทนบางส่วน

“ส่วนการกู้เงินเพิ่มเติมตามข้อเสนอฝ่ายต่างๆนั้น เรื่องนี้ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะทรัพยากรประเทศมีจำกัด การกู้เพิ่มต้องดูฐานะการคลัง ควรกู้ได้หรือไม่ จำนวนเท่าใด กู้มาแล้วจะใช้ทำอะไรต้องดูร่วมกันให้ดี วงเงินที่เหลืออยู่ 7.4 หมื่นล้านบาท ต้องนำไปใช้ส่วนแรกผ่านโครงการฟื้นเศรษฐกิจฐานราก 1 หมื่นล้านบาท และใช้รักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 เนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับ ส่วนที่เหลืออยู่ 4.8 หมื่นล้านบาทต้องเสนอ ครม.ใช้เงินก่อนสิ้น ก.ย. 65 จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง” นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวว่าสำหรับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ต้องเร่งตลาดเพื่อการส่งออก และส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพ การนำผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานในประเทศ ต้องเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อให้มีรายได้จากการท่องเที่ยว การเน้นทำให้ไทยพึ่งพาอยู่ด้วยตนเองมากขึ้น จากหลายประเทศงดการส่งออกวัตถุดิบ ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนต้องดูแลต่อเนื่องไม่ให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ การเร่งรัดการลงทุนสำคัญ โดยยังเป็นห่วงภาระหนี้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือน ต้องทำการแก้ปัญหาต่อเนื่อง จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะยังเป็นปัจจัยเปราะบางต่อเศรษฐกิจไทย และปัญหาการแพร่ระบาดโควิด -19

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กุนซือนายกฯ' กระทุ้งอีก! 'ธปท.' ต้องเร่งลดดอกเบี้ย

'พิชัย' ห่วงเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ หลังเงินเฟ้อติดลบ 5 เดือนซ้อนสวนทางโลก จี้ ธปท. หั่นดอกเบี้ยนโยบาย ลดช่วงห่างเงินกู้เงินฝาก ตามสภาพัฒน์ฯ แนะนำ