'สุชาติ' ห่วงสาวไทยถูกนายหน้าหลอกลอยแพ สั่งทูตแรงงานประสานกงสุลใหญ่ที่ดูไบ พากลับไทย

28 เม.ย.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ผมได้รับการประสานจากท่านศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยคนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎรว่า ให้ช่วยเหลือแรงงานไทยในดูไบที่ถูกนายหน้าหลอกอ้างว่าจะชวนไปทำงานร้านนวดแต่ถูกหลอกไปค้าประเวณี พร้อมขู่หากไม่รับงานจะใช้บุหรี่ไฟฟ้าจี้ตามร่างกาย จึงร้องขอความช่วยเหลือให้ประสานกลับไทยซึ่งในเรื่องนี้นั้น ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ เพราะแรงงานเหล่านี้เป็นพลังสำคัญในการหารายได้เลี้ยงครอบครัวและนำเงินเข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จึงกำชับให้กระทรวงแรงงานดูแลความเป็นอยู่และช่วยเหลือกรณีได้รับความเดือดร้อนในการไปทำงานต่างประเทศ

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า น.ส.ลัดดาวัลย์ สิงห์งอย อายุ 34 ปี ซึ่งเป็นหลานสาวของ น.ส.ทัศนี สิงห์งอย อายุ 42 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครพนม ได้รับข้อมูลจากอาว่า นายหน้าชักชวนไปทำงานร้านนวดแผนไทยที่ประเทศดูไบตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2563 แต่ถูกโดนหลอกให้ไปค้าประเวณีถูกกักขังไม่ให้ไปไหนถ้าไม่ทำงานหรือไม่รับงานต้องโดนทำร้ายร่างกายโดนบุหรี่ไฟฟ้าจี้ ซึ่งมีคนไทยติดไปด้วยกัน 2 คน ทราบชื่อ คือ น.ส.สุรีพร พลเยี่ยม มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด และ น.ส.ศศิตาภรณ์ วัฒนศรี มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูกนายจ้างยึดเอกสารพาสปอร์ตไว้ทั้งหมด และถูกกักขังไม่สามารถไปไหนได้ในเขต Ajman เงินทองไม่มี บังคับทำงานไม่ให้เงิน และวีซ่าของ น.ส.ทัศนี สิงห์งอย จะหมดในวันที่ 30 เมษายน 2565 จากข้อมูลของ น.ส.ลัดดาวัลย์ ยังระบุอีกว่า น.ส.ทัศนีได้เดินเรื่องไปที่สถานทูตดูไบแล้วตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2565 แต่ขณะนี้นี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเรื่องสิทธิประโยชน์และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพากลับไทยด้วย

นายสุชาติ ยังกล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือในส่วนของกระทรวงแรงงาน ฝ่ายแรงงานฯ ณ กรุงอาบูดาบี ได้ประสานข้อมูลกับสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ เพื่ออำนวยความสะดวกดูแลแรงงานไทย ซึ่งขณะนี้ทราบว่า
แรงงานไทยได้ออกมาพักอยู่ที่ VIP Massage Center แล้ว จากนั้นฝ่ายแรงงานฯ จะให้ไปแจ้งความกับตำรวจ เพื่อนำหลักฐานการแจ้งความหนังสือเดินทางหายมาขอทำหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport) และซื้อตั๋วเพื่อรอเดินทางกลับประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้ สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ประสานสำนักงานแรงงานจังหวัดในพื้นที่ได้ออกไปเยี่ยมบ้านของแรงงานเพื่อแจ้งความคืบหน้าการช่วยเหลือให้ญาติทราบแล้ว

ทั้งนี้ ปัจจุบันการเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายมี 5 วิธี ได้แก่ กรมการจัดหางานจัดส่ง บริษัทจัดหางานจัดส่ง นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศ นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงานต่างประเทศ และคนหางานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเอง จึงขอแจ้งเตือนไปยังคนหางานที่ประสงค์เดินทางไปทำงานต่างประเทศไปทำงานด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและสมัครเป็นสมาชิกเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครอง หากประสบอันตราย เสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ หรือประสบปัญหาในต่างประเทศ โดยสามารถศึกษาข้อมูลการเดินทางไปทำงานต่างประเทศได้ที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/overseas ลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th เมื่อประสบปัญหาจากการสมัครงานหรือการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ร้องทุกข์ได้ที่ศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร 1694

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่