นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง ประชุมสุดยอดผู้นำสตรีอาเซียน ครั้งที่ 2 ย้ำบทบาทไทยมุ่งเน้น 3 มิติ

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีอาเซียน ครั้งที่ 2 เน้นย้ำบทบาทของไทยในการส่งเสริมศักยภาพและสถานภาพของสตรีอาเซียนในทุกมิติ พร้อมชู BCG Model ในการเสริมสร้างพลังสตรีอาเซียน สู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและเป็นหนึ่งเดียวกัน

12 ต.ค.2565 - เวลา 16.25 น. ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีอาเซียน ครั้งที่ 2 (The 2nd ASEAN Women Leaders’ Summit) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อ “การสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน (Building A More Sustainable, Inclusive and Resilient Future: Unlocking Women’s Entrepreneurship)” โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของถ้อยแถลง ดังนี้

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีอาเซียนนี้ พร้อมทั้งชื่นชมกัมพูชาสานต่อเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียน มุ่งเน้นบทบาทของสตรีในการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนในโลกยุคหลังโควิด-19 และได้ผนวกเข้าไว้ในปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการของสตรีในอาเซียนที่จะรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนพฤศจิกายนนี้ด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำบทบาทของรัฐบาลไทยในการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างพลังสตรี โดยเฉพาะผู้ประกอบการและแรงงานสตรี ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง โดยมุ่งเน้นใน 3 มิติ ดังนี้

1. การสร้างนโยบายเพื่อเสริมสร้างพลังสตรี ไทยได้แปลงคำมั่นไปสู่การปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสตรี พ.ศ. 2566 - 2570 ผ่านการเร่งเสริมสร้างทุนมนุษย์ของสตรีในทุกมิติตลอดช่วงชีวิต โดยตระหนักถึงโอกาสทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางของสตรีในการพัฒนาตนเองและการพัฒนาประเทศ
2. การเสริมสร้างศักยภาพของสตรี และเสริมทักษะของสตรีในการประกอบอาชีพ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการ MSME และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพสำหรับกลุ่มอาชีพสตรีในชนบท
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ไทยได้ประกาศการเสริมสร้างพลังสตรีทางเศรษฐกิจ เป็นวาระแห่งชาติ เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสตรีในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ อาทิ การจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การส่งเสริมการลาของสามีเพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด และการขยายวันลาคลอดของมารดาโดยได้รับค่าจ้าง

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่าอาเซียนควรร่วมกันเสริมสร้างพลังสตรีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ และสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืน โดยการ 1) บูรณาการมิติเพศภาวะเข้าสู่นโยบายทางเศรษฐกิจทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาค ตลอดจน 2) ส่งเสริมมาตรการที่กำหนดเป้าหมายเพื่อให้สตรีสามารถปรับตัว รับมือ และฟื้นตัวจากวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดย 3) ไทยส่งเสริมและนำรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) มาใช้เพื่อสนับสนุนบทบาทของสตรี ซึ่งมีผู้ประกอบการสตรีไทยหลายคนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจ BCG และสามารถเป็นตัวอย่างในการดำเนินงานด้านนี้ได้ต่อไป

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนในการเสริมสร้างพลังสตรี และบทบาทของผู้ประกอบการสตรีผ่านเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียน หรือ AWEN (ASEAN Women Entrepreneurs Network) จะนำมาซึ่งประชาคมอาเซียนที่มีความเท่าเทียม มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง

อนึ่ง การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีอาเซียน ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในรูปแบบผสม (Hybrid) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความต่อเนื่องของพลวัตการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิสตรี และเยาวชนสตรีของอาเซียน รวมถึงเป็นเวทีในการพบหารือระหว่างผู้นำสตรีกับผู้นำอาเซียน เกี่ยวกับประเด็นปัญหาความท้าทายและโอกาสในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง การฟื้นฟู การเติบโต และความสามารถในการฟื้นตัวสู่สภาพปกติของธุรกิจและวิสาหกิจที่สตรีมีบทบาทนำ โดยในการกล่าวถ้อยแถลงในครั้งนี้ มีผู้นำประเทศที่มีบทบาทสำคัญด้านสตรี อาทิ นิวซีแลนด์ ผู้นำและผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงผู้แทนสตรีที่มีบทบาทสำคัญร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขึ้น 'รถไฟฟ้า-รถเมล์' ฟรี 7 วัน! รัฐบาลล้วงงบกลางแก้ฝุ่น PM2.5

นายกฯ สั่งคมนาคม ให้ประชาชนขึ้น 'รถไฟฟ้า - รถขสมก.' ฟรี 7 วัน 25-31 ม.ค. แก้ปัญหา PM 2.5 เตรียมชงครม.ใช้งบกลางชดเชย 140 ล้านบาท พร้อมตั้ง 8 จุตรวจจับควันดำ

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อำนาจนอกระบบของทักษิณ'

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “อำนาจนอกระบบของทักษิณ" มีเนื้อหา ดังนี้

บี้ 'อิ๊งค์' ปกป้อง 'เอกนัฏ' ล่าไอ้โม่งลงขันเปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม

24 ม.ค. 2568 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ปกป้อง เอกนัฏ" โดยระบุว่า ติดตามข่าวการตอบกระทู้ถามสด ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการปิดโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี จ.อุดรธานี ถึงการเลือกปฏิบัติในการรับซื้ออ้อยเผาของ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย รู้สึกตกใจกับคำตอบของนายเอกนัฏ ตอนหนึ่งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีการลงขันจำนวนเงิน 200- 300 ล้านบาท เพื่อย้ายนายเอกนัฎ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเมืองไทย ที่มีกลุ่มทุนอิทธิพลเหนือการเมือง ใช้เงินลงขันด้วยเงินหลักร้อยล้านบาท เพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ขอให้กำลังใจนายเอกนัฎ ในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง และควรจะเปิดเผยชื่อตัวการลงทุนย้ายนายเอกนัฎออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี หากไม่สามารถเปิดเผยชื่อต่อสังคมได้ ก็ควรนำเรื่องนี้ไปเรียนให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการเมือง สามารถใช้เงินทุนโยกย้ายเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ หากนางสาวแพทองธาร ยังเอาไม่อยู่ เพราะไม่มีอำนาจที่แท้จริง ก็ต้องนำเรื่องนี้ให้ถึงมือของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด เป็นเจ้าของรัฐบาลตัวจริง และสามารถสั่งการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีได้แต่เพียงผู้เดียว ถ้าหากเรื่องนี้เป็นความจริง นางสาวแพทองธาร จะต้องปกป้องนายเอกนัฎ เพราะการดำเนินนโยบายห้ามไม่ให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยเผา เป็นมาตรการป้องกันมลพิษ PM 2.5 ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร แต่ถ้าเมื่อนายเอกนัฎได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของนางสาวแพทองธารแล้ว แต่ไปสะดุดต่อ นางสาวแพทองธารในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะต้องรับผิดชอบ และสืบหาตัวไอ้โม่งผู้อยู่เบื้องหลังการลงขัน เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีอุตสาหกรรมให้ได้ ขอให้สังคมเรียกร้อง กดดันให้รัฐบาล เปิดโปงขบวนการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีออกมาให้สังคมรับรู้ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกลุ่มทุนใดๆ ทั้งสิ้น.

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย หนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-ยูเรเชีย

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย สนับสนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย พร้อมเพิ่มพูนการค้า ดึงศักยภาพ ศก. ร่วมกัน

'เท้ง' ลั่น 'อุ๊งอิ๊ง' ไปหาโอกาสใหม่ใน ตปท.ได้แต่ควรแก้ปัญหาในบ้านก่อน

'เท้ง' ชี้ 'นายกฯ' ไปหาโอกาสใหม่ต่างประเทศทำได้ แต่ควรแก้ปัญหาฝุ่นในไทยก่อน เชื่อ ปชช.เรียกร้อง-รอคอยอยู่ เผย 'ปชน.' เตรียมเสนอ มาตรการที่เป็นรูปธรรม หวังรัฐบาลรับไปดำเนินการ

นายกฯ ยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย

นายกฯ แสดงความยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ สร้างความเท่าเทียมให้ทุกเพศ เคารพในความแตกต่างทั้งเพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ ศาสนา