ระวังตกเป็นเหยื่อ! 'นิพิฏฐ์' จำแนก 'คดีการเมือง' ชี้ความผิดตามม.112 ไม่ใช่

21 ม.ค.2566 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมายและนักการเมืองชื่อดัง โพสต์ในเฟซบุ๊กดังนี้

คดีการเมือง หรือไม่?

-มีบุคคลบางคน กล่าวถึงคดีการเมืองอยู่เสมอ ว่า คดีเหล่านั้น คดีเหล่านี้ เป็นคดีการเมือง

-แล้ว "คดีการเมือง" คือคดีอะไร?

-ไม่มีคำจำกัดความที่แน่นอนครับ แต่พออธิบายได้ว่า เป็นคดีที่เกี่ยวข้องการการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เช่น จากประชาธิปไตย ให้เป็นคอมมิวนิสต์ หรือการเป็นกบฏ อย่างนี้ ถือเป็นคดีการเมือง

-คดีความผิดต่อพระมหากษัตริย์ เป็นคดีการเมืองหรือไม่ ผมว่า แยกเป็น 2 กรณี

1.คดีที่ต้องการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถือเป็นคดีการเมืองได้

2.คดีดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ไม่ถือเป็นคดีการเมือง

-เปรียบเหมือน สมัยสงครามเย็น หากมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ถือเป็นคดีการเมืองได้ แต่หากไปทำร้ายหรือประทุษร้ายต่อคนที่เป็นคอมมิวนิสต์ ถือว่า เป็นคดีทั่วไปที่กระทำต่อบุคคลธรรมดา

-เมืองไทยที่เป็นอยู่ ผมยังไม่เห็นมีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีแต่การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่คดีการเมือง การเรียกร้องให้คดีตามม.112 เป็นคดีการเมือง จึงเป็นการหลงผิด หรือ แกล้งหลงผิด หากใครเชื่ออย่างนั้นก็จะตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศชอ. คัมแบ็ค! ประกาศกลับมาแล้ว พร้อมลุยใช้กฎหมาย ม.112 ปกป้องสถาบัน

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ ศชอ.โพสต์ข้อความว่า "กลับมาแล้ว" หลังจากเมื่อเดือนกันยายน 2566 ได้ประกาศยุติบทบาทการเคลื่อนไหวใช้กฎหมายในการปกป้อง ช

'นิพิฏฐ์' ซัด ปชป.ตาขาวไม่ป้อง 'ชวน' โต้นายกฯเก็บค่าผ่านทาง 5 บาท 10 บาท

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊ก "ประเทศปกครองด้วยกฎหมาย มิใช่ปกครองโดยรัฐบาล" ระบุว่า ผมฟัง นายกเศรษฐา ปะทะคารม กับอดีตนายกชวน หลีกภัย ในสภาเมื่อวาน ก็เพียงคิดเล่นๆ

ทำลายสถิติ! ผู้ต้องขังยังเพิ่มพุ่ง 46 คน คดี ม.112 เกินครึ่ง ผู้อดอาหารประท้วงยังถูกขังต่อ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ปัจจุบัน (4 เม.ย. 2567) มีผู้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เนื่องจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก อย่างน้อย 46 ราย ในจำนวนนี้เป็นคดีมาตรา 112 เกินกว่าครึ่ง เป็นจำนวน 28 คน