ถอดรหัสพึ่งพาตนเองสู้วิกฤตโควิด สร้างโอกาสแรงงานทั้งใน-นอกระบบ

สสส.ผลักดันเสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 ถอดรหัสสร้างโอกาส ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก ถกปัญหาแรงงานในระบบและนอกระบบแยกออกจากกันไม่ได้ เป็นห่วงโซ่ระบบชุมชน วิกฤตโควิดหาทางออก ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้บรรเทาหนี้ครัวเรือน ลดเครียดด้วยการดูแลสุขภาพกายใจ ใจเป็นนาย  กายเป็นบ่าว จะย้ายภูเขาหรือจะถมทะเล ใจต้องสู้ 

เสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 การจัดการสุขภาพกายและใจเมื่อต้องเผชิญวิกฤตโควิด-19 ถอดรหัสสร้างโอกาส ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก ดำเนินรายการโดย นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส., มูลนิธิสุขภาพไทย และ ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณบดีคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต และมีวิทยากรให้ความรู้นำโดย น.ส.บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ หัวหน้าโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มแรงงานในระบบภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้บรรเทาหนี้ครัวเรือน และทีมงาน ตลอดจนนายยุคนธร พรมเดช คณะทำงานโครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพและรายได้เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19

วีรพงษ์ เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส.

นายวีรพงษ์  เกรียงสินยศ มูลนิธิสุขภาพไทย รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 6 สสส. กล่าวว่าเสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 ประจำวันที่ 16 ต.ค.2564 เป็นความคิดริเริ่มจาก สสส.สำนัก 6 สำนักสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อถอดรหัสการสร้างโอกาสให้ฝ่าวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ เนื่องจากเรายังมีและต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นจำนวนมาก

ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ ระบุว่าวิกฤตโควิด-19 ทำร้ายคนที่ขาดโอกาสทุกหย่อมหญ้า กลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งในระบบและนอกระบบ คนสองกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบทั้งในโรงงาน นอกโรงงาน   ร้านค้า การจ้างงานลดลง เมื่อคนสองกลุ่มถูกทอดทิ้งก็ต้องชวนคิดชวนคุย เพื่อให้ได้คำตอบว่าแรงงานนอกระบบลำบากกว่าแรงงานที่อยู่ในระบบหรือไม่ หรืออาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันก็ได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพราะระบบการจ้างงานไม่ได้ถูกออกแบบให้คนได้เตรียมพร้อมกับภาวะวิกฤต

น.ส.บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์  กล่าวว่า แรงงานในระบบและนอกระบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นห่วงโซ่ระดับโรงงานสู่ชุมชน จากชุมชนสู่โรงงาน พี่น้องวัยหนุ่มสาวที่เป็นผู้ใหญ่แล้วส่งเงินกลับบ้านเพื่อเลี้ยงคนสูงวัยในชุมชน การจ้างงานในประเทศไทยอยู่ในระบบและนอกระบบ เป็นภาคการเกษตร ภาคการผลิต การค้าขาย 37.82 ล้านคน แรงงานอยู่ในระบบประกันสังคม ม.33 ที่นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐร่วมมือกัน แรงงานบางคนไม่ได้อยู่ใน ม.33 

การจ้างงานในระบบและนอกระบบ 68 ล้านคน สร้างมูลค่า 48% ถ้าโฟกัสกลุ่มแรงงานในระบบ 37.82ล้านคน (สถิติปี 2564) เมืองไทยมี 62 นิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ใน 18 จังหวัด รวม 4,993 โรงงาน จำนวนคนงาน 3,690,656 คน อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในสัดส่วนที่สูง อุตสาหกรรมตะวันตกดินไม่ได้เป้าหมายในการปฏิรูป ถูกหลงลืมในกระบวนการผลิต กระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะมีนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น

แรงงานในระบบภาคการผลิตไทย  ยามโลกเกิดความผันผวนเมื่อโควิดมา   กลุ่มเปราะบางในสังคมย่อมได้รับผลกระทบ ประเทศไทยรับจ้างผลิตให้กับบ.แบรนด์เนมต่างๆ โดยพี่น้องผู้ใช้แรงงานในระบบ การผลิตชุดชั้นในแบรนด์เนม พี่น้องที่ใช้แรงงานเป็นผู้ผลิต คนผลิตไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้เป็นผู้ผลิต คนผลิตใช้แรงงานแบบเข้มข้น ฝึกทักษะให้เย็บถุงเท้าข้างซ้าย แบบเดิมๆ เย็บถุงเท้าข้างขวาไม่เป็น ใช้แรงงานแบบเข้มข้น กดราคาแรงงานต่ำสุด ไม่ได้ถูกฝึกทักษะให้เย็บถุงเท้าข้างขวา เมื่อพี่น้องแรงงานตกงานหาแรงงานใหม่ ไม่ได้ถูกฝึกฝนทำงานนอกรั้วโรงงาน

นโยบายระบบประกันสังคมจึงต้องส่งเสียงดังๆ ถึงกระทรวงแรงงาน เมื่อโควิด-19 ระบาด จึงเปิดให้เห็นบาดแผลที่หลบซ่อนอยู่ หลายคนกลัวที่จะถูกบอกการเลิกจ้าง บางโครงการก่อนเลิกจ้าง 100 คน ทำงาน 100 ชิ้น แต่เมื่อมีการเลิกจ้าง 30 คน ทำงาน 100 ชิ้น บางคนไม่ตกงานก็จริง ไม่มีเงินโอที หลายคนทำงานอยู่ในภาคบริการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระทบ ร้านถูกปิด นำสู่ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาสุขภาพกายใจ 

ในโอกาสนี้ น.ส.บุษยรัตน์ ในฐานะหัวหน้าทีม ได้นำทีม Boy Brand นำเสนอผลงานบริหารโครงการในช่วงโควิด-19 เพื่อการมีสุขภาพกายใจที่ดีสู้วิกฤต เริ่มจากนาย พีระพัฒน์ ลอยละลิ่ว บริษัท ไทยเรย่อน จำกัด (มหาชน) อ่างทอง ซึ่งเป็นกิจการสิ่งทอต้นน้ำเส้นใยสังเคราะห์ เปิดเผยว่าได้จัดรวมกลุ่มพนักงานวิ่งออกกำลังกายผ่านทางไลน์กลุ่ม บางคนก็มีประสบการณ์การวิ่งมาก่อน บางคนไม่ได้มีประสบการณ์ จากนั้นก็แจกข้าวกล่อง

เสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 การจัดการสุขภาพกายและใจเมื่อต้องเผชิญวิกฤตโควิด-19 ถอดรหัสสร้างโอกาส ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก

นายวัฒนา  สังสา ประธานสหภาพ Rubber YMP บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชลบุรี กล่าวว่า เมื่อเกิดโควิด อนาคตเริ่มมืดมน จากเดิมที่เคยมีโบนัส 6-7 เดือน  ทุกอย่างต้องชะลอตัวหมด พนักงาน 2,000 คน ลดลงเหลือ 200 คน อีก 400 คนยังไม่บอกเลิกจ้างก็จริงแต่สถานะบริษัทวิกฤต คนงาน 200คนทำงานด้วยความหวาดระแวงว่าจะถูกเลิกจ้างเมื่อไหร่ คู่สามีภริยาบางคู่ทำงานด้วยกันก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะส่งลูกกลับไปอยู่กับพ่อแม่ที่ต่างจังหวัด เพราะอนาคตไม่แน่นอน บางคนเป็นโรคซึมเศร้า จึงต้องหาทางร่วมมือกันทำกิจกรรม ต้องสร้างพลังใจ “อึด ฮึด สู้” แล้วเราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน การสร้างกิจกรรมปลูกผักภายในโรงงาน เพื่อจะนำเก็บกลับบ้านทำอาหาร แก้ไขปัญหาหนี้สิน สำนัก 6 สสส.เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เรียนรู้ รับรู้ปัญหาและแก้ไขปัญหา การสร้างทัศนคติเชิงบวก เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัญหา แก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

“เมื่อฉีดวัคซีนกายแล้วก็ต้องฉีดวัคซีนใจ สุภาษิตที่ว่าใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว มีกำลังใจที่จะสู้ต่อ วัคซีนใจเป็นเรื่องสำคัญมาก จะย้ายภูเขาหรือจะถมทะเล ใจต้องสู้ ดังนั้นวัคซีนใจเป็นเรื่องสำคัญมากๆ มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับพี่เลี้ยงทางไลน์ แก้ไขปัญหาสุขภาพจิตกับพนักงานในบริษัทด้วย มีการตั้งคณะกรรมการสุขภาพทางกายและใจให้บริการในโรงงาน คล้ายๆ กับการมี อสม.แทรกซึมเข้าไปในไลน์ด้วย เพื่อนในกลุ่มไลน์ 200 คน ช่วยกันขบคิดแก้ไขปัญหาหนี้สิน เงินที่กู้ยืม บางคนเล่นการพนันออนไลน์ ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนพูดคุยแก้ไขปัญหาเป็นการส่วนตัว เริ่มต้นจากการรับวัคซีนใจ 16 คน ให้คอยสังเกตลูกน้องตัวเองมีอาการซึม เศร้า เครียด มีปัญหาในใจก็รับปรึกษา เรื่องนี้ต้องมีหัวหน้า และเพื่อนที่รู้ใจช่วยกันแก้ไขปัญหา”

นายสมคิด ทองนา กลุ่มสหภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไทย สมุทรสาคร บริษัท โตโยต้า โกเซ รับเบอร์ จำกัดและบริษัท พงศ์พารา โคตันรับเบอร์ จำกัด จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า จ้างครู 3-4 สาขาวิชามาสอนความรู้ การปลูกผักเลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เคราะห์ซ้ำกรรมซัดลงไปอีก ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา เป็นความโชคดีที่ได้รับเงินจาก สสส.สนับสนุนในการเขียนโครงการฝึกอาชีพระยะสั้น เย็บผ้ากันน้ำในการประกอบอาชีพเสริม ปรับปรุงพื้นที่ว่างปลูกพืชผักสวนครัว ซื้อพันธุ์ปลามาเลี้ยง 200 ตัวภายใน 3 เดือนเติบโตเป็นแหล่งอาหารและนำไปขายสร้างรายได้.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง