ทำความรู้จัก 'แอปพลิเคชัน ThaID (ไทยดี)' แสดงบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้านออนไลน์

ต้องยอมรับว่าการใช้โทรศัพท์มือถือทำธุรกรรมต่างๆเป็นความสะดวก ที่ได้รับการยอมรับ เกิดความนิยมในวงกว้าง แต่ที่ผ่านมามีอย่างหนึ่งที่ยังไม่สามารถทำได้ก็คือ การยืนยันตัวตนที่เป็นข้อมูลบัตรประชาชน ผ่านแอปพลิเคชั่น ล่าสุด  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมนำแอปพลิเคชัน ThaID (ไทยดี) ยกระดับการให้บริการประชาชนภายใต้รัฐบาลดิจิทัล ด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านทางแอปฯ ThaID ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงปลอมแปลงเอกสาร  สามารถใช้แทนบัตรประชาชนได้ในการรับบริการต่างๆ จากภาครัฐ

“กรมการปกครอง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแผนพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย โดยได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อเป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รองรับการใช้งานของประชาชนทั้งประเทศ  ติดต่อกับราชการโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษที่สิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอมในกระบวนการยืนยันตัวตนของระบบเดิม สร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สามารถบริการพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ “นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าว

แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง

โดยระบบการทำงานของแอปพลิเคชัน ThaID คือ การแสดงภาพบัตรประจำตัวประชาชนในรูปแบบดิจิทัล ทั้งด้านหน้าบัตร และหลังบัตร เพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล เมื่อประชาชนเข้าไปใช้บริการจากทางภาครัฐหรือภาคเอกชนที่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตน ก็สามารถเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อยืนยันตัวตนได้เลย โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลหรือใช้เอกสารยืนยันตัวตัว

แอปพลิเคชัน ThaID ได้เปิดตัวให้ประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดและใช้ยืนยันตัวตนได้ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีกระแสตอบรับอย่างกว้างขวาง มียอดดาวน์โหลดกว่า 5.8 ครั้ง    ปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐที่ขออนุญาตใช้งานการยืนยันตัวตน จำนวน 50 หน่วยงาน พร้อมด้วยหน่วยงานภาคเอกชน 24 หน่วยงาน ซึ่งขณะนี้มีระบบบริการที่ใช้ยืนยันตัวตนได้แล้ว 11 ระบบ ดังนี้

1) งานทะเบียนออนไลน์ โดยกรมการปกครอง เช่น การใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ การแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง การมอบหมายปลูกสร้างบ้านใหม่ (ขอเลขที่บ้าน) การคัดรับรองเอกสารด้วยตนเอง 2) ยื่นภาษีออนไลน์ โดยกรมสรรพากร 3) ระบบ Health Link โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) 4) ระบบยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออนไลน์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 5) แอปพลิเคชันเงินเด็ก โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 6) ระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 7)ระบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ 8) ระบบ DIP e-services โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา 9) ระบบ SEIS โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 10) ระบบจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์ผ่านอินเตอร์เน็ต ของกรมการขนส่งทางบก และ 11) ระบบ LandsMaps ของกรมที่ดิน และจะมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ร่วมใช้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลกับกรมการปกครองเพิ่มขึ้นอีกในระยะต่อไป”

เรื่องความปลอดภัยของระบบที่หลายคนอาจจะกังวล   การพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaID ของกรมการปกครอง มีหลักการสำคัญที่สุดคือ การคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล  เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถมั่นใจในความปลอดภัยในระดับมาตรฐานสากล อาทิ มีข้อความเตือน (Notification) ทุกครั้งที่มีการขอเข้าถึงข้อมูล การให้ข้อมูลเจ้าของข้อมูล จะต้องให้ความยินยอม   โดยต้องใส่รหัส 8 หลักตามที่ตั้งไว้เอง ถ้าไม่ยินยอมหรือรหัสไม่ตรงกับที่ตั้งไว้    ข้อมูลก็จะไม่มีการส่งออกไป

เจ้าของข้อมูล สามารถตรวจสอบรายการที่ให้ข้อมูลได้ด้วยตนเองจากประวัติการให้ข้อมูล สามารถใช้งานได้เพียงโทรศัพท์เครื่องเดียวเท่านั้น ถ้ามีการลงทะเบียนเครื่องใหม่สำเร็จ   เครื่องเก่าจะถูกยกเลิกทันที โทรศัพท์ที่มีการแก้ไขระบบของเครื่อง (Jailbreak) จะไม่สามารถใช้งาน ThaID ได้ เป็นต้น
“กรมการปกครองได้เน้นย้ำบุคลากรในพื้นที่ทั้ง 878 อำเภอ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ลงพื้นที่ร่วมสร้างการรับรู้ให้กับพี่น้องประชาชนในการดาวน์โหลดและใช้แอปพลิเคชัน ThaID บนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อให้นำไปเผยแพร่ให้บุคคลในครอบครัวได้ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน ThaID อย่างกว้างขวาง”อธิบดีกรมการปกครองกล่าว

การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID มาใช้งานได้บนโทรศัพท์มือถือ  ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ  ใช้ได้ทั้งระบบ Android และ iOS โดยดำเนินการได้ 2 ช่องทาง คือ ช่องทางที่ 1 ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่ โดยนำโทรศัพท์มือถือและบัตรประจำตัวประชาชน มายังสำนักทะเบียนทั่วประเทศ และช่องทางที่ 2 ลงทะเบียนด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน ThaID และยืนยันตัวตันตามขั้นตอนในระบบ

ผู้ประสงค์ขอลงทะเบียนระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล DOPA-Digital ID สามารถดำเนินการ ดังนี้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID ลงในโทรศัพท์มือถือของตนเองก่อนเข้ามาขอรับบริการลงทะเบียน ใช้ได้ทั้งระบบไอโอเอส (IOS) และระบบแอนด์ดรอย (Android) หรือมีการขอลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้ 2 วิธี ดังนี้1.ลงทะเบียนด้วยตนเอง2.ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปฏิบัติการ 'สิงห์ทมิฬ' ทลายสินค้าเถื่อนเมืองภูเก็ต มูลค่าเสียหาย 500 ล้านบาท

กรมการปกครอง เปิดปฏิบัติการ "สิงห์ทมิฬ" นำหมายศาลบุกค้น ร้านขายบุหรี่เถื่อน เหล้าเถื่อน กลางเมืองภูเก็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 500 ล้านบาท ลักลอบขนเข้าทางเรือ

'มหาดไทย' แจงปมหลายอำเภองดทำบัตรประชาชน เหตุอยู่ในช่วงรอทดสอบมาตรฐานบัตร

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่ในวันที่ 22 เม.ย. 2567 สื่อสังคมออนไลน์ได้เผยแพร่ข้อความถึงกรณีมีประชาชนเดินทางไปที่ว่าการอําเภอเพื่อติดต่อทำบัตรประชาชนบแต่ไม่สามารถทำได้

ประเดิมวันแรก! สแกนใบหน้า ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจากแอปพลิเคชันถุงเงินเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส

มหาดไทย เปิดข้อมูลทะเบียนราษฎร ล่าสุด พบมีคนไทย 66 ล้านคน แต่ลดลงจากปี 65

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รวบรวมจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ สิ้นปี 66 พบว่ามีจำนวนราษฎรทั่วประเทศ

'ผู้เฒ่าไทลื้อ' สุดปลื้มได้บัตรประชาชนไทย เผยดีใจยิ่งกว่าถูกรางวัลที่ 1

นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน “ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ” ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้แปลงสัญชาติเป็นไทยของคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อย ทำให้บุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสัญชาติไทย