‘ควายปลักทะเลน้อย’ มรดกโลกการเกษตร

.vce-row-container .vcv-lozad {display: none}

FAO ประกาศให้ "ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย" เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทยแล้ว 

จากกรณีที่คณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ลงพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ในการตรวจประเมินพื้นที่ระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เพื่อพิจารณาให้การรับรองเป็นมรดกโลกทางการเกษตร

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจาก FAO ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับ FAO ในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจัดทำเอกสารเสนอ GIAHS  เพื่อเสนอขอรับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร โดยได้เสนอให้จัดทำเอกสารข้อเสนอพื้นที่ระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เพื่อพิจารณาให้การรับรองเป็นมรดกโลกทางการเกษตรต่อไปนั้น

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโรม (สปษ.โรม) ได้รับแจ้งจากนาย Yoshihide ENDO ฝ่ายเลขานุการมรดกโลกทางการเกษตรว่าข้อเสนอโครงการ การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง และ จ.สงขลา ผ่านความเห็นชอบจากกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ของ FAO

และได้ประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ โดยช่วงเมื่อวันที่ 4-8 ตุลาคม 2565 ทางด้าน Prof. Zekri Slim ชาวอิสราเอล เป็นผู้แทนคณะกรรมการ SAG เดินทางตรวจสอบพื้นที่จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย และให้ข้อเสนอแนะประเทศไทยปรับแก้ไขเอกสารเพิ่มเติม ก่อนยื่นเอกสารข้อเสนอเพื่อเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาในช่วงวันที่ 2-4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

สำหรับพื้นที่ในระบบมรดกทางการเกษตรโลก หมายถึงพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในการจัดการใช้ที่ดินและภูมิทัศน์ ในพื้นที่ซึ่งอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนมีการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดย FAO กำหนดองค์ประกอบหรือหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกพื้นที่ ดังนี้

1.เป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ โดยระบบมรดกทางการเกษตรโลกที่นำเสนอควรสนับสนุนความมั่นคงทางด้านอาหารและการหาเลี้ยงชีพของชุมชนในท้องถิ่น แสดงถึงการทำมาหากินหลัก ซึ่งรวมถึงการจัดหาและการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างระบบการหาเลี้ยงชีพและอาหารแบบยั่งยืน

2.มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทางการเกษตรและทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและการเกษตร (พรรณ/ความหลากหลาย/สายพันธุ์ของพืชหรือสัตว์เฉพาะถิ่น/หายาก/ใกล้สูญพันธุ์)

3.มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในท้องถิ่นในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ

4.มีระบบวัฒนธรรมทางการเกษตร ที่เป็นค่านิยม ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ พิธีกรรม เทศกาลและปฏิทินทางการเกษตร และโครงสร้างทางสังคม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง