‘ก้าวไกล’ รับ กม.เลือกตั้งเดินหน้าต่อยาก หลังสภาโหวตผ่านสูตรหาร 500

‘ณัฐวุฒิ’ ยอมรับ กม.เลือกตั้งเดินหน้าต่อยาก ชี้กลับไปใช้บัตรใบเดียว เชื่อจบวาระ 3 รู้แน่

25 ก.ค.2565-นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ …) พ.ศ. … กล่าวถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 26 ก.ค.ว่า เมื่อที่ประชุมรัฐสภามีมติโหวตผ่านมาตรา 23 ให้ใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หาร 500 ถือเป็นการเปลี่ยนหลักการสำคัญที่ได้ยกร่างมาก่อนหน้านี้ แม้จะไม่เห็นรายละเอียดว่าเนื้อหาการหาร 500 นั้นเป็นอย่างไร จากนี้จึงต้องพิจารณาว่าจะกระทบมาตราอื่นที่ยกร่างไปแล้ว หรือมาตราอื่นที่ไม่ได้แก้ไขหรือไม่ ซึ่งเท่าที่พิจารณา หากจะเดินหน้าต่อไปเช่นนี้จะไปกระทบต่อ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. อย่างน้อย 2 มาตราที่ไม่ได้แก้ไข คือ มาตรา 131 และมาตรา 133 โดยกระบวนการดังกล่าว จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขมาตรา 131 และมาตรา 133 ได้ ฉะนั้น เมื่อกลับมาประชุมกันต่อ ก็ต้องให้ที่ประชุมพิจารณาว่าจะเดินหน้าต่อไปจนสิ้นสุดวาระ 2 และวาระ 3 อย่างไร ซึ่งในการประชุมวันที่ 26 ก.ค. พบว่ามีปัญหาบางประการที่ทำให้กระบวนการเดินหน้าได้ยากจริง

นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า ตามกระบวนการ หากสิ้นสุดวาระ 3 แล้ว จะมี 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1.ที่ประชุมรัฐสภามีมติคว่ำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. หรือกลับมติว่าไม่เห็นควรให้ผ่านวาระ 3 กระบวนการการแก้ไขกฎหมายลูกต้องเริ่มใหม่หมด 2.ส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อ หากกกต. เห็นว่าไม่ต้องปรับแก้ จะส่งมาที่รัฐสภา ก่อนส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ตามกระบวนการ แต่หาก กกต. ส่งกลับมาให้แก้ไขรัฐสภาจะต้องเลือกว่าจะเห็นควรตาม กกต. หรือยืนยันตามสิ่งที่ผ่านวาระ 3 ไป และ 3.การเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องมาดูว่าสมาชิกรัฐสภา สามารถเข้าชื่อได้หรือไม่ โดยทราบว่านายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะ กมธ. เตรียมเข้าชื่อเพื่อเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะยืนยันว่าไม่สามารถใช้สูตรหาร 500 ได้ จึงต้องรอว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร

“ตอนนี้แนวทางเดินไปได้แบบนี้เท่านั้นแต่แนวทางที่จะไปเริ่มใหม่เลยหรือไม่ ตนคิดว่ายังไม่ถึงจุดนั้น เพราะต้องรอให้รัฐสภาพิจารณาจนแล้วเสร็จก่อน และค่อยมาดูกันอีกครั้งว่าจะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขกันอย่างไร โดยเป็นไปได้ตั้งแต่การแก้รัฐธรรมนูญใหม่ การแก้กฎหมายลูกใหม่ หรือแนวทางอื่นๆ ทั้งนี้ จุดยืนของพรรค ก.ก. คือการเดินหน้ากระบวนการพิจารณาไปก่อน โดยในวันนี้ (25 ก.ค.) นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค ก.ก. และทีมงานกฎหมายลูก จะหารือกันเรื่องดังกล่าว”

ถามถึงกระแสข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับไปใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว และสูตรคำนวณเดิม นายณัฐวุฒิ กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการคว่ำกฎหมายลูกในวาระ 3  ซึ่งยังไม่ถึงจุดนั้น อีกกรณีคือศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่าการแก้ไขกฎหมายลูกให้ใช้สูตรหาร 500 เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขกฎหมายลูกไม่สามารถเดินหน้าต่อได้อย่างเบ็ดเสร็จ หากเป็นเช่นนั้นจริง รัฐสภามีทางออกคือ การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และแก้ให้เบ็ดเสร็จ ไม่ใช่การแก้ไขแบบครั้งที่แล้ว ซึ่งทุกคนสรุปบทเรียนได้ตรงกันว่า เป็นการแก้ไขที่ไม่สะเด็ดน้ำ และนำมาสู่ทางตันของปัญหาอย่างที่คาดคะเนกันไว้จริงๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

'ก้าวไกล' หนุนแก้กฎหมายสกัดรัฐประหาร ลั่นกองทัพต้องอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม มีข้อเสนอให้สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…)

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ

'ดร.อานนท์' ชงสูตรการเมืองทำลาย 'ก้าวไกล-ธนาธร' เชื่อยอมเจ็บเถิด จะได้จบ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า