ผลักดันหญิงพิการ’ถูกละเมิด’เข้าถึงระบบยุติธรรม

ไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงติดอันดับโลก ที่น่ากังวลเด็กและสตรีพิการถูกทำร้ายบาดเจ็บทั้งกายและบอบช้ำทางจิตใจเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีแค่ 29% ขณะที่แต่ละวันมีผู้หญิงถูกล่วงละเมิด ไม่น้อยกว่า 7 คน เหยื่อที่เข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ ประมาณปีละ 3 หมื่นราย ข้อมูลเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านเวทีนำเสนอรายงาน “สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงพิการ”  จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และสมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่ให้หญิงพิการไร้ตัวตน

พัชรี อาระยะกุล ปลัด พม.

นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า พม. สนับสนุนทุกภาคส่วนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เพื่อปกป้องและเอาผิดกับผู้กระทำผิด มีนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัดสนับสนุนให้เด็กและสตรีพิการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมาย และการสนับสนุนด้านอื่นที่จำเป็นสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ เน้นกระบวนทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชน ขับเคลื่อน 4 มิติ ป้องกัน ช่วยเหลือเยียวยา ดำเนินคดี และร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  ช่วงโควิดที่ผ่านมาครอบครัวใช้เวลาด้วยกันมากขึ้น  คดีล่วงละเมิดเพิ่มขึ้น  เด็กหรือผู้หญิงออกมาแจ้งความทำได้ยาก เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เช่น พ่อทำลูก เราต้องช่วยในกระบวนการรับรู้สิทธิ  ปกป้องและยืนเคียงข้างในกระบวนการยุติธรรมจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการ ต้องทำให้ผู้ถูกละเมิดกล้าและไม่รู้สึกสู้อยู่คนเดียว มีคดีตัวอย่างที่ผู้เสียหายชนะจากการทำงานร่วมกัน

ความร่วมมือผลักดันให้ยุติความรุนแรงในผู้หญิงเป็นประเด็นใหญ่ นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า ผู้หญิงอยู่ในกลุ่มเปราะบางเผชิญความเหลื่อมล้ำจากอคติทางเพศ จารีต ประเพณี และวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานาน ทำให้บางคนสูญเสียโอกาสและได้รับผลกระทบในชีวิตอย่างหนัก  สสส. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะผู้หญิงเพื่อปลดล็อกปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ป้องกัน คุ้มครองให้รอดพ้นจากความรุนแรงทุกมิติ ทำให้กลุ่มคนพิการ มุสลิม ชาติพันธุ์ ผู้ต้องขัง ผู้หญิงบริการ และผู้หญิงรักผู้หญิง มีสุขภาวะที่ดี

ภารนี ภู่ประเสริฐ

กุญแจสำคัญในการกำหนดชะตาชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ นางภรณีเน้นย้ำถึงนโยบายสาธารณะ ซึ่ง สสส. ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และภาคี ขับเคลื่อนโครงการก้าวที่เป็นมิตรต่อเด็ก ผู้หญิง คนพิการ และผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เป้าหมายสำคัญสนับสนุน ฟื้นฟู เยียวยา เสริมพลังเด็ก ผู้หญิง คนพิการที่ประสบความรุนแรงให้ก้าวข้ามปัญหา และเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้ประสบความรุนแรงรายอื่นให้รู้สิทธิตามกฎหมาย และรวบรวม เผยแพร่สถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงพิการ ค้นหาปัญหา ช่องโหว่ และนำมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและบริการของภาครัฐ

ทำงานเชิงรุกโฟกัสกับความรุนแรงในครอบครัวที่กระทบผู้หญิง นางภรณี เผย สสส.ผนึกภาคีเครือข่ายเพื่อลดปัญหาผ่านงานพัฒนาองค์ความรู้และสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวระดับประเทศ, พัฒนาหลักสูตรแก้ปัญหาความรุนแรงและเพิ่มศักยภาพคนทำงานด้านความรุนแรง, พัฒนาหลักสูตรความรู้ด้านกฎหมายและการประสานงานสหวิชาชีพกรณีเกิดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมถึงพัฒนาพื้นที่นำร่องสร้างระบบงานสหวิชาชีพแก้ปัญหานี้ในจังหวัดต่างๆ เพื่อสร้างสวัสดิภาพ ลดความรุนแรงในพื้นที่ พัฒนาแกนนำสตรี 4 ภาค และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะผู้หญิงและครอบครัว ให้คำปรึกษาผ่านมูลนิธิเพื่อนหญิง

เปิดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและหญิงพิการ

ส่วนงานสื่อสารสาธารณะมุ่งส่งเสริมงานสื่อสารร่วมกับทุกภาคส่วนปรับทัศนคติให้สังคม “ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง” หรือ “ความรุนแรงเป็นเรื่องของคนอื่น” ผ่านแฟนเพจ Free From Fear, ขับเคลื่อน “โครงการเผือก” เปลี่ยนพลังเงียบให้เป็นหู เป็นตา ช่วยเหลือ เก็บหลักฐาน พร้อมจัดทำเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ลดการคุกคามทางเพศในระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งยังผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.2560 – 2564 พัฒนากลไกยุติความรุนแรงผ่าน MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติ  ส่วนปัญหาคุกคามทางเพศบนรถขนส่งสาธารณะ ร่วมกับ บขส.เสริมศักยภาพพนักงาน ติดกล้องวงจรปิดภายในรถ และพัฒนาระบบการแจ้งเหตุขึ้นมา

ประเด็นเหยื่อเข้าถึงไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม นางสาวเสาวลักษณ์ ทองก๊วย กรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่อง พบว่า คดีหรือเรื่องที่เกิดขึ้นร้อยละ 20 เท่านั้นที่เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ผู้เสียหายเข้าไม่ถึงด้วยความไม่รู้กฎหมาย บางครั้งถูกชักจูง ไกล่เกลี่ย ทำให้ยอมความรับค่าทำขวัญเพื่อจบ ไม่ให้เรื่องสิ้นสุดที่กระบวนการยุติธรรม   ร้อยละ 90 ของการละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นคนในบ้าน ยิ่งบุคคลที่เป็นผู้พิการด้วยแล้วจะยิ่งถูกมองว่า ไร้ตัวตน ถึงเวลาต้องกลับมามองถึงปัจจัยที่ทำให้เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งที่ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียม เสนอแนะให้ภาครัฐปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎหมายสากลที่ครอบคลุมสิทธิเรื่องผู้พิการ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เฒ่าสามนิ้ว' บ่นพึม! รู้แต่ข่าวบันเทิงวันสงกรานต์ ไม่รู้ 'ตะวัน-แฟรงค์-บุ้ง' ถูกย้ายกลับคุก

สุชาติ สวัสดิ์ศรี อดีตศิลปินแห่งชาติ หนึ่งในผู้นำจิตวิญญาณกลุ่มสามนิ้ว โพสต์เฟซบุ๊ก Suchart Sawadsri ว่า ทราบแ

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

'กลุ่มผู้สูงวัย' จี้ 'วราวุธ' เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้าในปีนี้ จ่อบุกทำเนียบฯหลังสงกรานต์

กลุ่มเครือข่ายผู้สูงอายุประมาณ 35 คน นำโดย น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้เดินทางไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยได้มีการชูป้ายเรียกร้องให้รัฐเห็นความสำคัญของการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

'ผู้สูงวัย' นัดรวมตัวบุก พม. ทวงถามเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้า

ศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เพื่อทวงถามถึงมติเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้า 1,000 บาท/คน/เดือน ที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี