รู้จักนวัตกรรมแอปฯ DMIND ตัวช่วยสังเคราะห์ภาวะซึมเศร้า

เชื่อหรือไม่! ขณะนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในเมืองไทยมีจำนวน 1.5 ล้านคน ทั้งยังเป็นเพชฌฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยถึงปีละ 4,000 ราย อีกทั้งเป็นสาเหตุของการพยายามฆ่าตัวตายถึงปีละ 53,000 คน หากไม่ได้รับการคัดกรองอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว มีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเอง หรือการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งทางจิตเวชที่เกิดจากความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจ ด้วยระบบการแข่งขันในสังคม โรคระบาด ปัจจัยทางชีวภาพและกรรมพันธุ์ การเข้าถึงบริการทางจิตเวชในเมืองไทยมีข้อจำกัด เพราะทัศนคติด้านลบต่อโรคทางจิตเวชสร้างความรู้สึกว่าเป็นตราบาป ขณะเดียวกันบุคลากรทางสุขภาพจิตก็ไม่เพียงพอต่อผู้เข้ารับการบริการ

เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้..เมื่อเร็วๆ นี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดตัวนวัตกรรม DMIND Application แอปฯ สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. ในปีที่ 21 ด้วยทิศทางล้ำหน้าและทันสมัย เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการเข้าถึงไลน์หมอพร้อม ดำเนินการเรื่องสุขภาพจิตอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ในปี 2565 ได้ยกระดับเป็นประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญของ สสส. ที่มุ่งเน้นการทำงานสร้างเสริมและป้องกัน ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคล และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและสังคม

สสส.ได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นเวลา 10 ปี “hear to heal” และขยายภาคีเครือข่ายใหม่ๆ ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการประเมินภาวะซึมเศร้า DMind และโครงการสร้างเสริมสุขภาพจิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าด้วยการพัฒนาระบบ Service dashboard โดยเชื่อมต่อกับระบบหมอพร้อม เกิดเป็นนวัตกรรมแอปฯ  DMIND สอดรับกับการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการประเมินสุขภาพจิตได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และสร้างเสริมสุขภาพจิตในระยะยาว รวมถึงการได้รับบริการอย่างเหมาะสมตามระดับปัญหา ที่สำคัญคือ ประชาชนสามารถนำองค์ความรู้หรือแนวทางที่ได้รับจากการให้บริการไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของตนเอง และสื่อสารช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

“โควิดส่งผลกระทบต่อเยาวชนในช่วง 2 ปีที่ต้องเรียนทางออนไลน์ที่บ้าน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผู้สูงวัยต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวปลอดภัย สสส.ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้บริการปฐมภูมินวัตกรรมแอปฯ DMIND ในช่วงทดลองมีผู้ใช้บริการ 400 คน คาดว่าหลังเผยแพร่ข่าวแล้วจะมีผู้เข้ามาใช้บริการหมื่นคน/วัน เพราะทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือมีไลน์หมอพร้อม ผู้ใช้รู้สึกว่ามี Value Added ใช้ฉีดวัคซีน และสั่งยาทางไลน์ ต่อไปให้บริการทางสุขภาพใจ มีผู้ดูแลพร้อมส่งต่อที่ปรึกษา AI มีความฉลาดมากขึ้น เมื่อเปิดกล้องเพื่อใช้ในการสื่อสาร สังเกตสีหน้าท่าทาง ความวิตกกังวล เป็นการประเมินความเครียดในเบื้องต้น”

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “ระบบการเข้าถึงบริการทางจิตเวชในประเทศไทยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากความสะดวกในการเข้าถึงบริการ และจำนวนบุคลากรทางสุขภาพจิตที่ยังไม่เพียงพอ หนึ่งในแนวทางการป้องกันความรุนแรงของโรค คือการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ขั้นต้น (screening and early detection) จุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับ สธ. และ สสส. พัฒนานวัตกรรม DMIND Application สำหรับคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า แอปฯ ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงจากลักษณะการแสดงออกทางหน้าตา น้ำเสียง และข้อความ เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นอย่างง่าย มีความถูกต้อง แม่นยำ ช่วยลดขั้นตอนในการวินิจฉัยของแพทย์” รศ.นพ.ฉันชายกล่าว

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า สายด่วน1323 เทคโนโลยีแบบโบราณรับสายตอบแก้ไขปัญหา จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับสายเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น การเข้าสู่ Digital-Metaverse เพื่อให้สุขภาพจิต จิตเวชไม่ตกรุ่นด้วยการพัฒนาเครื่องมือแอปฯ DMIND สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางการสื่อสารของหมอพร้อม ทั้ง LINE Official https://bit.ly/2Pl42qo เฟซบุ๊กหมอพร้อม เลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ” และเว็บไซต์ https://bit.ly/DMIND_3

การประเมินผลแสดงอาการ 3 ระดับ 1.ปกติ (สีเขียว) พร้อมแนะนำข้อมูลการดูแลสุขภาพจิตทั่วไป 2.กลาง (สีเหลือง) ศูนย์สุขภาพจิตเขต 1-13 ภายใต้กรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ จะติดตามในพื้นที่ 3.รุนแรง (สีแดง) สายด่วนสุขภาพจิต 1323 จะติดตามอาการ เพื่อประเมินสุขภาพจิต และร่วมหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสามารถเข้าถึงบริการและการประเมินด้านสุขภาพจิตได้ ถือเป็นระบบบริการรูปแบบใหม่ในการส่งต่อผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าให้ได้รับการรักษาแบบ Fast Track กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง โดยสามารถเข้าใช้แอปพลิเคชัน DMIND ได้ตั้งแต่วันนี้ หากมีปัญหาสุขภาพจิตใจติดต่อได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323

"คนในวัยทำงานทุกอาชีพสามารถเกิดโรคซึมเศร้าได้ ยิ่งครอบครัวที่มีแรงกดดันทางเศรษฐกิจ มีความยากไร้ จะได้รับผลกระทบมากกว่าคนที่มีฐานะความพร้อมทางเศรษฐกิจที่ดี คน 7,000 คนเข้ามาตอบคำถาม เมื่อมีผู้รับฟังปัญหาเกิดกำลังใจอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป".

 

เปิด DMIND มีจิตแพทย์อยู่ข้างตัว

รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เล่าความเป็นมาของแอปฯ ว่า

DMIND เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า คณะวิศวกรรมฯ คณะแพทย์ จุฬาฯ เริ่มมีการพัฒนา app ปี 2020 ร่วมมือสายด่วนกรมสุขภาพจิตขยายวง app หมอพร้อม QR code พบคุณหมอพอดีตอบคำถามเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยการตอบโจทย์ผ่านทาง app แล้วจากนั้นระบบ AI จะดูหน้า เสียง เนื้อหา เพื่อรายงานต่อไปถึงจิตแพทย์ เมื่อคนไข้เปิดกล้องระบายความในใจ จิตแพทย์ประเมินจากสีหน้า น้ำเสียง วิเคราะห์เนื้อหา ความวิตกกังวล ระบบ AI ประมวลผลทั้งหมดเสมือนหนึ่งมีจิตแพทย์อยู่เบื้องหน้า มีการประเมินผลเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง (ติดต่อเพื่อนัดพบจิตแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเสี่ยงจะฆ่าตัวตาย ทีมงานจะติดต่อกลับไปภายใน 5 นาที) ความแม่นยำมีสูงถึง 78.52% จากการตอบแบบทดสอบในการตรวจสุขภาพทางใจในช่วง1สัปดาห์ที่ผ่านมา.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง