มช.ก้าวเป็นผู้นำรับสังคมสูงวัย เปิดศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ บริการดูแลสุขภาพแบบล้ำยุค

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดแนวรุกการให้บริการสร้างทางเลือกการดูแลสุขภาพรับสังคมสูงวัย ดัน“ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ” ให้บริการเต็มรูปแบบในรูปแบบศูนย์กลางที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุจากหลากหลายสาขาวิชามาบูรณาการ แน่นทั้งความรู้ รูปแบบดูแลด้วยนวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวก

วันนี้ (29 ส.ค. 2565) ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( มช.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์:นวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุที่สอดรับกับแนวนโยบายระดับประเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานภาคบริการ โดยได้ร่วมกับกรมธนารักษ์ ริเริ่มโครงการจัดตั้ง "ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ" (CMU Senior Wellness Center) ขึ้น  

“ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ จัดสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์การให้บริการ ทั้งสร้างเสริมสุขภาพ กาย ใจ สังคม อารมณ์ แข็งแรง และผู้สูงอายุไทยมีกิจกรรมทำให้เกิดพฤฒพลัง ดูแลตัวเองได้ อีกทั้ง ผู้สูงอายุมีการทำงาน ทั้งแบบจิตอาสา หรือมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ มีการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ และการเรียนรู้จากผู้สูงอายุ และมีความเข้าใจในผู้สูงอายุ และเพิ่มจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ”ดร.นพ.พงษ์รักษ์ กล่าว

นพ.พงษ์รักษ์ กล่าวต่อไปว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคม มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ที่จะโอบล้อมไปด้วยองค์ความรู้ สร้างแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจ ด้วยการไม่ละทิ้งใครคนใดไว้ข้างหลัง สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ นำไปสู่การใช้ศักยภาพของประชากรให้เกิดประโยชน์อย่างสมบูรณ์ เตรียมพร้อมด้านทักษะ และความรู้ในการทำงานให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุ และที่สำคัญนำไปสู่การผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่เป็น Medical Wellness City  ประเทศไทย โดยจากการคาดการณ์ว่า ใน 18 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุเกือบ 20 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ นับว่าเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุจากหลากหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้และเผยแพร่ความรู้ด้านผู้สูงอายุ โดยบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนให้เกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน สร้างต้นแบบสังคมผู้สูงอายุตามแนวทางพฤฒพลัง ให้ผู้สูงอายุมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้นานที่สุด ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม

“พฤฒพลัง หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีพลังอยู่ โดยภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า“Active Aging” โดยองค์การอนามัยโลก [WHO] (1990) ให้ความหมายของแนวคิดพฤฒพลัง หรือ Active Ageing ว่า การเป็นผู้สูงอายุที่ปราศจากโรคและรวมถึงการมีความสามารถในการใช้ร่างกาย สรีรวิทยา จิตใจ และสังคม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการชราที่เกิดขึ้น ให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถทำอะไรๆ ได้ตามสิทธิที่มีอยู่ มีชีวิตที่มีอิสระ มีชีวิตที่มีส่วนร่วม และทำได้สำเร็จด้วยตัวเอง (Self-Fulfillment) โดยกลุ่มเป้าหมายของการให้บริการ แบ่งเป็น หนึ่ง ผู้สูงวัย 55 ปีขึ้นไป (Aging) และสอง ผู้ที่ต้องการเตรียมตัวเข้าสู่การสูงวัย 40 – 54 ปี (Pre - Aging)” พญ.สหัทยา กล่าว

พญ.สหัทยา กล่าวอีกว่า ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 อาคาร ที่แยกการให้บริการที่แตกต่างกัน ได้แก่อาคาร A : ขะยอม บริการด้านเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุเน้นเวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ สินค้าสะอาดปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพ และศูนย์ให้คำปรึกษาที่พักอาศัย ผู้สูงอายุอาคาร B : ตะหล้อม การฝึกอบรมผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องด้านการดูแลสุขภาพ รองรับการประชุมสัมมนา อบรมระยะสั้น พื้นที่ workshop งานประดิษฐ์ต่าง ๆ อาคาร C : พุทธรักษา คลินิกสุขภาพ ทันตกรรม เวชกรรม สหคลินิกวางแผนสุขภาพ ห้องพยาบาล ห้องให้คำปรึกษา เป็นหน่วยคัดกรองเพื่อแนะนำโปรแกรมสุขภาพที่ผู้สูงอายุควรได้รับการอบรม หรือรับบริการ ห้องทันตกรรมผู้สูงอาย อาคาร D : เก็ดถะหวา คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ห้องนวดแพทย์แผนไทยประยุกต์ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาคาร E : ก๋าสะลอง กายภาพบำบัด ธาราบำบัดกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ เน้นความเป็นเลิศด้านฟื้นฟูในคอร์สระยะสั้น ได้แก่ กายภาพบำบัด ธาราบำบัดระบบน้ำแร่ ฟิตเนส โยคะ และฝึกสมอง และอาคาร F : ทองกวาว อาคารเรียนรู้ Edutainment and Recreation ประกอบด้วย Kitchen Playground, ห้องสมุดเสียง

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีและผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสร้างสรรค์การเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เชียงใหม่ และเพื่อให้ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ สามารถตอบโจทย์ ได้ทั้งในปัจจุบันทและอนาคต จึงได้มีการนำนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุรูปแบบใหม่ เข้ามาสนับสนุนการให้บริการ รวมถึงเป็นแหล่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ เช่น สวนวัตกรรมสุขภาพอัจฉริยะเพื่อผู้สูงอายุ (Intelligent Elderly Innovation Park) ศูนย์ฝึกอบรมอัจฉริยะเพื่อผู้สูงอายุ (Intelligent Elderly Training Center) อีกทั้งในส่วนของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ภายในศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังฯ ยังเป็นเครื่องมือที่ผลิตเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะอีกด้วย

สำหรับ “ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ” ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 20.00 น. ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook : ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ มช. : Senior Wellness Center CMU หรือโทร 053 904 914

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลิกชีวิตชุมชนเชียงใหม่! พอช.-มช. ผนึกกำลังขับเคลื่อน ศูนย์เด็กเล็ก-คลองแม่ข่า สู่อนาคตที่เข้มแข็ง

เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือกันในขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและพื้นที่ริมคลองแม่ข่า เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

บทเรียนจากญี่ปุ่นในการรับมือสังคมสูงวัยสำหรับประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในปี 2035 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 28% ของประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้คล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด (World Bank, 2021) อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนากลยุทธ์และนโยบายหลายด้านเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้

'พิพัฒน์' กล่าวบนเวทีโลก OECD ชูพัฒนาคน รองรับเศรษฐกิจใหม่ รับมือAI สังคมสูงวัย และแรงงานอิสระยั่งยืน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี OECD หัวข้อ ขอบเขตใหม่สำหรับนโยบายสังคม : การลงทุนในอนาคต OECD Ministerial meeting New Frontiers for Social Policy : Investing in the Future OECD ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

แพทย์ มช. ตอกย้ำความเป็นเลิศ คว้ารางวัล Thailand Quality Class Plus : Customer ยกระดับมาตรฐานองค์กรทัดเทียมระดับสากล

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) จากเวทีรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality

มช. นำ Big Data พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมบูรณาการ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ภายใต้ โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของประเทศไทย

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร