เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนฯ
กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุขภาวะชุมชน ภายใต้โครงการขยายผลการจัดการป่าชุมชน เพื่อลดฝุ่นควันและสร้างสุขภาวะชุมชน โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายเดโช ไชยทัพ ประธานคณะทำงานบริหารโครงการขยายผลการจัดการป่าชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่ายป่าชุมชน 60 พื้นที่ เข้าร่วมกว่า 100 คน ณ ห้องประชุมเวอเรนด้า โรงแรมบ้านไทยบูทิค รามคำแหง 47 หัวหมาก กรุงเทพฯ
การจัดการป่าชุมชนบ้านถ้ำเสือ เพชรบุรี
ป่าชุมชนไม่เพียงแต่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืนจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และลดผลกระทบจากวิกฤตสิ่งแวดล้อม เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญในการรวมพลังภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างป่าชุมชนที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกำหนดแผนปฏิบัติการ และการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนป่าชุมชนร่วมกัน
"ป่าชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก"
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ กล่าวถึง ความสำคัญของการฟื้นฟูป่าชุมชนในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการว่า “เราต้องเดินหน้าเพื่อนำป่าชุมชนกลับมาเป็นของพี่น้องประชาชนอีกครั้ง” โดยชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ที่ยาวนานตั้งแต่ยุคที่มีกฎหมายสัมปทานป่า ซึ่งส่งผลให้ป่าหายไป ภูเขากลายเป็นหัวโล้น และเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชาวบ้าน
“เมื่อป่าหายไป รัฐบาลจึงได้เรียนรู้จากชาวบ้าน และออก พ.ร.บ.ป่าชุมชน ขึ้นมา พร้อมแก้กฎหมายให้ชาวบ้านสามารถตัดไม้ที่ปลูกเองได้” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว พร้อมชี้ให้เห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่มักถูกเขียนจากบนลงล่างและบังคับใช้กับชาวบ้าน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องผลักดันให้มีกฎหมายที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชน
“จาก 15 ป่า อยากให้มีการขยายผลแบบทวีคูณ เช่น 1 ขยายเป็น 3 จนเต็มพื้นที่” ดร.กอบศักดิ์ ย้ำถึงความสำคัญของการขยายผลการจัดการป่าชุมชนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ประเทศไม่มีป่าไม่ได้ เพราะป่าคือแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือน ซูเปอร์มาร์เก็ตของประเทศ แม้รัฐบาลจะแจกเงินให้ประชาชน แต่ก็ไม่เท่ากับการให้พื้นที่ป่า เพราะป่าคือแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน แม้จะมีการพัฒนามาหลายสิบปี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเราอุดมสมบูรณ์ แต่ทำไมวันนี้ในน้ำไม่มีปลา ในนาไม่มีข้าว และชาวนาซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติกลับมีแต่หนี้
ดร.กอบศักดิ์ ได้เสนอแนวทางแก้ไขด้วยการปลูกป่าและสร้างธนาคารต้นไม้ว่า เราต้องช่วยกันปลูกเงินทองให้งอกเงย นั่นคือการปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า ยกตัวอย่าง ธนาคารปูม้า ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้ให้ชุมชน และชี้ให้เห็นว่าธนาคารต้นไม้ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน อยากให้พี่น้องปลูกต้นไม้ เพื่อให้เป็นป่าชุมชน และทำธนาคารต้นไม้ ขายกล้าไม้ และผลิตภัณฑ์จากป่า เพื่อสร้างกองทุนในยามเกษียณ โครงการนำร่อง เช่น โครงการคันนาทองคำ และ โครงการป่าชุมชน ที่เชื่อมโยงกับการสร้างธนาคารต้นไม้ ถ้าปลูกต้นไม้ 2 ต้น เท่ากับการมีทองคำ 2 บาท เพราะมูลค่าของป่าและน้ำนั้นมากกว่าทองคำ
นอกจากนี้ การฟื้นฟูป่าสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ เราสามารถยกระดับป่าชุมชนให้เป็นโมเดลระดับประเทศ ที่ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนทางธรรมชาติ แต่ยังสร้างรายได้และสุขภาวะให้ชุมชน การฟื้นฟูป่าชุมชนไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับชุมชน เราต้องร่วมมือกันปลูกต้นไม้ สร้างป่า และสร้างธนาคารต้นไม้ เพื่อให้แผ่นดินของเรากลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ดร.กอบศักดิ์ กล่าวในตอนท้าย
รวมพลังภาคี 7 ดวง สร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยป่าชุมชน
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า บทบาทของป่าชุมชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งและรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าชุมชนไม่เพียงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสามัคคีและความร่วมมือของคนในชุมชน ป่าชุมชนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ที่ช่วยหล่อหลอมให้พี่น้องในชุมชนเข้ามาร่วมมือกัน โดยชี้ให้เห็นว่าป่าชุมชนไม่เพียงแต่ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงคนในชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ ให้เข้ามาร่วมมือกันในการพัฒนาชุมชน การจัดการป่าชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องของชุมชน แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งท้องที่ ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายกฤษดา ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้น น้อยมากที่จะเกิดจากธรรมชาติโดยตรง นั่นหมายความว่า ไฟที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติ นั่นคือ มนุษย์เราเองที่ยังมีความเชื่อผิดๆ ในการแก้ไขปัญหานี้ด้วยการสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน เราต้องช่วยกันสร้างความตระหนักและเปลี่ยนความเชื่อผิด ๆ ที่นำไปสู่การจุดไฟป่า
นายกฤษดา ได้กล่าวถึงว่า พอช. ได้จับมือกับภาคี 7 หน่วยงาน ซึ่งเปรียบเสมือน “ดาว 7 ดวง” ที่จะร่วมกันส่องสว่างทางเดียวกันในการทำงาน 7 ภาคีอาสานี้จะร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้ป่าชุมชนเป็นเครื่องมือหลัก การรวมพลังจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สุดท้าย นายกฤษดา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรวมพลังจากทุกภาคส่วนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งและจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ป่าชุมชนไม่เพียงแต่ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสามัคคีและความร่วมมือของคนในชุมชน
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส. กล่าวถึง สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ของประเทศไทย และแนวทางกฎหมาย พรบ.อากาศสะอาด โดยให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกฎหมาย ซึ่ง สสส. ได้พยายามออกการสื่อสารสังคม สร้างองค์ความรู้ต่างๆให้กับประชาชน ทั้งนี้เป็นหน่วยงานในการส่งเสิรมการปลูกป่าในพื้นที่ ที่เป็นโครงการต้นแบบที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้ เพื่อการพึ่งพาระหว่างคนกับป่า สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ลดภาวะมลพิษและฝุ่นฝนอากาศ สร้างความสุขให้กับประชาชน อย่างยั่งยืน มีสิ่งแวดล้อม มีอากาศที่ปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี โดยขอให้กำลังใจผู้นำทุกตำบลที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการป่าชุมชนในครั้งนี้ และสามาถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นได้ต่อไป
นายเดโช ไชยทัพ ประธานคณะทำงานบริหารโครงการขยายผลการจัดการป่าชุมชน ได้กล่าวถึง เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนสถานการณ์โลกและผลกระทบต่อป่าชุมชน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โลก สังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการป่าชุมชนในการรับมือกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและพื้นที่รูปธรรม
พร้อมทั้งเป็นการสรุปบทเรียนและประสบการณ์จากการดำเนินงานโครงการในปี 2567 นำเสนอพื้นที่รูปธรรมที่ประสบความสำเร็จในการจัดการป่าชุมชน สร้างความเชื่อมั่นและความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการ สานพลังความร่วมมือภาคีเครือข่าย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการจัดการป่าชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนโครงการ สร้างระบบการบริหารโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สุดท้ายกำหนดแนวทางและแผนปฏิบัติการร่วมกัน สำหรับการดำเนินงานโครงการในปีต่อไป นายเดโช กล่าว
นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. ได้ร่วมการทำงานกับ สสส. เพื่อขับเคลื่อนโครงการป่าชุมชน ซึ่งพอช. จะช่วยส่งเสริมในการสร้างความเข้มเข็งของชุมชน การพัฒนาผู้นำให้เกิดความเข้มแข็ง และรวมกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน และประชาสังคม เชื่อมโยงพื้นที และร่วมขับเคลื่อนในด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งด้านต่าง ๆ โดยสนับสนุนแนวทางการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง พัฒนากิจกรรมให้เกิดที่ชุมชน สร้างบทบาทในการทำงานและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนให้พื้นที่ มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานพัฒนาในพื้นที่ ส่งผลการพัฒนาจากฐานรากสู่ระดับประเทศ 1.ภายใต้นโยบายของสถาบัน และยุทธศาตร์การทำงานของพอช. โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการพัฒนา ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่ 2.การสานพลังกับภาคีหนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่าง ๆ 3.การพัฒนาผู้นำขบวนองค์กรชุมชน ให้มีศักยภาพในการทำงาน และมีบทบาทในการขับเคลื่องาน รวมเครือข่ายองค์กรชุมให้เกิดความเข้มแข็ง 4.การทำงานในลักษณะหุ้นส่วนการพัฒนา สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการทำงานของชุมชน โดยพื้นที่เป็นผู้ดำเนินการในการบริหารจัดการเป็นหลัก ชุมชนเกิดการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ
พื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
5.พื้นที่ต้นแบบในการจัดการป่าชุมชน ที่มีจะมีการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ และจะต้องมีการประสานความร่วมมือกับหน่วนงานภาคึพัฒนาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ ใน 15 พื้นที่เดิม และ 45 พื้นที่ขยายผล โดยแนวทางการการพัฒนามีกระบวนการแบ่งเป็น 1) การยกระดับพื้นที่เดิมให้เป็นต้นแบบไปยังพื้นที่อื่น 2) การพัฒนาพื้นที่ใหม่ให้เกิดรูปธรรม เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นได้ 3) การพัฒนาต่อยอดป่าชุมชน นำไปสู่การขยายผลในมิติอื่น ๆ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 6.ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในการจัดการป่าชุมชนอย่างน้อย 10 พื้นที่ เกิดกิจกรรมต่อยอดการพัฒนาในรูปแบบใหม่ เกิดพื้นที่ระบบการพัฒนาฐานข้อมูล เกิดแผนพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบและนำไปใช้ได้ เกิดการบูรณาการกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาคีในการจัดการป่าชุมชน รวมทั้งเกิดพื้นที่สื่อสารรูปธรรมของการขับเคลื่อนป่าชุมชน การถอดบทเรียนเพื่อได้องค์ความรู้ ข้อเสนอปัญหาของป่าชุมชน และเกิดการพัฒนาขอ้เสอนเชิงนโยบายกับหน่วยงาน และพื้นที่เป้าหมาย ต้องมีกระบวนส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันตลอดระยะเวลาโครงการ เพื่อหนุนเสริมการทำงาน ต่อยอดการพัฒนาป่าชุมชนเกิดให้ประโยชน์ต่อไป
เวทีแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่รูปธรรมป่าชุมชน 5 ภาค
บทเรียนการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่รูปธรรมป่าชุมชน 5 ภาค
- ภาคเหนือ : • ป่าชุมชนยางเปียง ต.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดย นายนิรันดร์ น้ำภูดิน
เป็นอำเภอที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ โดยตำบลอมก๋อยเป็นพื้นที่ที่มีป่าชุมชนแปลงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 28,000 ไร่ ชาวบ้านจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาป่า เลี้ยงสัตว์ อาศัยอยู่กับป่า การบริหารจัดการป่าจึงเกิดขึ้นในพื้นที่ ใช้วิถีภูมิปัญญาเข้ามาบริหารจัดการป่าชุมชน พัฒนาอาชีพ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งการใช้ผลผลิตจากป่า และมีความพยายามในการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาพื้นที่ ร่วมกันเฝ้าระวังไฟไหม้ผ่า ทำแนวกันไฟ จัดทำแผนรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากป่า นอกจากชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากป่าแล้วงมีการฟื้นฟูป่าร่วมด้วย
- ภาคอีสาน : ป่าชุมชนบ้านกุดหมากไฟ จ.อุดรธานี โดย นายสมเด็จ จำปี
สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาเรื่องไฟป่า ร่วมกับ 11 หมู่บ้าน รับรองแผนปฏิบัติการป่าชุมชน โดยแต่ละหมู่บ้านมีส่วนร่วม เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องช่วยเหลือกัน อาศัยเครือข่ายให้การสนับสนุน ซึ่งมีการจัดตั้งเครือข่ายหนุนเสริมการทำงาน และการช่วยเหลือเรื่องไฟป่า รวมทั้งการพึ่งพิงกันทั้งระบบนเวศน์ พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ จุดเด่นของการทำงาน คือ การเชื่อมโยงประสานกับหน่วยงานภาคีให้การช่วยเหลือแก้ไข ออกแบบกลไกการทำงานร่วมกันในตำบล แก้ไขปัญหาร่วมโดยเป็นวาระร่วมคนในชุมชน
- ภาคตะวันออก : ป่าชุมชนบ้านร่มโพธิ์ทอง จ.ฉะเชิงเทรา โดย นายประพันธ์ หนูดำ
ส่งเสริมแนวคิดคนอยู่กับป่า มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อวางกฎระเบียบในการใช้ป่าชุมชน ,รวมกลุ่มแปรรูปสมุนไพร ใช้ประโยชน์จากของป่า จัดการระบบแนวกันไฟในฤดูแล้ง อบรมการจัดการไฟป่า โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในการจัเการป่าชุมชน เป็นสถานที่ในการถ่ายทอดความรู้ในระบบการจัเการป่าชุมชน
- ภาคกลางตะวันตก : ป่าชุมชนบ้านถ้ำเสือ จ.เพชรบุรี โดย นายสุเทพ พิมพ์ศิริ
เดิมเป็นป่าที่ดิบแล้ง จึงมีการฟื้นฟูป่า โดยกระบวนการมีส่วนร่วม และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน
เพื่อหนุนเสริมการฟื้นฟูป่าชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมกิจกรรมในพื้นที่ เปิดพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงาน ให้การแนะนำแนวทางในการพัฒนา เปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และมีการพัฒนากองทุนให้แก่บุคลากรที่ช่วยเหลือการทำงาน พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้วยผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เกิดการสร้างรายได้ที่มั่นคง และใช้กองทุนเป็นเครื่องมือบริหารจัดการภายใน
- ภาคใต้ : ป่าชุมชนบ้านถ้ำตลอด จ.นครศรีธรรมราช โดย นายบุญเลิศ พันธ์สนิท
รวมกลุ่มเครือข่าย พัฒนาต่อยอดให้เครือข่ายป่าชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เป็นแหล่งป่าต้นน้ำ เป็นแหล่งอาหาร และเป็นแหล่งอากาศ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สามารถสร้างรายได้ พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้กับชุมชน , พัฒนาการทำฝายกั้นน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในพื้นที่ป่า และพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร ถ่ายองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ให้แก่ชุมชน
การจัดการป่าชุมชนและพื้นที่รอบป่าชุมชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“เร่งฟื้นฟูชุมชนโรงธูป! ราชบุรี พอช. ผนึกภาคีท้องถิ่นช่วยผู้ประสบภัยไฟไหม้ วางแผนฟื้นฟูที่อยู่อาศัยทั้งระยะสั้น-ระยะยาว”
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ผนึกกำลังภาคีท้องถิ่น-ชุมชน ร่วมวางแนวทางแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือน 17
เร่งแก้ปัญหาที่ดินรถไฟ! ลงพื้นที่ 5 ชุมชนสุไหงโก-ลก หาทางออกผู้อยู่อาศัยกว่า 700 ครัวเรือน
เดินหน้าพัฒนาชุมชนริมราง สุไหงโก-ลก เตรียมถกร่วมวางแผนแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย 5 ชุมชนเดือดร้อน
สสส. สานพลัง สคล.-มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม ดีเดย์ รณรงค์เทศกาลสงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 2568
สสส. สานพลัง สคล.-มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม ดีเดย์ รณรงค์เทศกาลสงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 2568 ผลสำรวจชี้ไม่ดื่มช่วยลดอุบัติเหตุ-ลดเสี่ยง-ลดทะเลาะวิวาท-ล่วงละเมิดได้ ประชาชน 91.4% เห็นด้วยจัดสงกรานต์ปลอดเหล้าลดอุบัติเหตุ อีก 75% ชอบสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์ พร้อมชวนลด 6 พฤติกรรมเสี่ยง Call out ไม่เอาน้ำเมา
ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ต้องมีวุฒิฯ! เปิดหลักสูตรปริญญาโทเทียบโอนประสบการณ์จริง
พอช. x NIDA จับมือสร้างความเปลี่ยนแปลง "ผู้นำชุมชนพันธุ์ใหม่ ต้องมีวุฒิฯ! "เปลี่ยนโฉมพัฒนาชุมชนด้วยวิชาการ! หลักสูตรปริญญาโทสำหรับผู้นำชุมชนโดยเฉพาะ วิจัยแก้จนจากข้อมูลจริงในพื้นที่อีสาน เตรียมขยายผลสู่นวัตกรรมพัฒนาทั่วประเทศ!"
พลังหญิงไทย ขับเคลื่อนอนาคต สร้างชุมชนเข้มแข็ง
วันที่ 4 เมษายน 2568 เครือข่ายผู้หญิงไทย 77 จังหวัด ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดเวที สัมมนาเครือข่ายผู้หญิงไทย 77 จังหวัด