BOI-CSR จับมือภาคีเอกชน-รัฐ ขับเคลื่อนชุมชนสู่ความยั่งยืน

พอช. ร่วมพิธีมอบเกียรติบัตรในงาน BOI-CSR พร้อมเสนอแนวทางขยายผลการสนับสนุนภาคเอกชนเพื่อพัฒนาชุมชนระดับรากฐานอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการทำงานแบบเครือข่ายและการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อม

กรุงเทพฯ - 7 พฤษภาคม 2568 - มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และเครือข่ายภาคีภาคต่างๆ) จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่องค์กรภาคธุรกิจเอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (BOI-CSR) พร้อมเปิดเวทีหารือแนวทางการขยายผลสู่ความยั่งยืน ณ ห้องประชุม 110A-C ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

ในปีที่ผ่านมา โครงการ BOI-CSR ได้รับความร่วมมือจากบริษัทภาคเอกชนกว่า 34 แห่ง สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม 232 โครงการ ครอบคลุม 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ การคัดกรองโรคมะเร็งในพื้นที่ห่างไกล การจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลรัฐ การยกระดับศูนย์เด็กเล็ก การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการสนับสนุนเกษตรชุมชนและป้องกันไฟป่าลด PM 2.5 รวมงบประมาณสนับสนุนทั้งสิ้นกว่า 970 ล้านบาท

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ พอช. กล่าวในพิธีมอบเกียรติบัตรว่า ความร่วมมือของภาคเอกชนในการสนับสนุนสังคมถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในระดับชุมชน พร้อมชี้ว่าชุมชนไทยมีศักยภาพในการพัฒนา แต่ยังขาดการสนับสนุนที่ตรงจุดและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ  เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับชุมชนเกิดผลลัพธ์อย่างแท้จริง พอช. ได้นำเสนอสองแนวทางหลัก ได้แก่ (1) การทำงานกับชุมชนที่มีความพร้อม และเป็นชุมชนที่ “ใช่” (2) การสร้างกลไกแบบเครือข่าย (Collective Impact) โดยให้ทุกบริษัทเลือกทำงานในประเด็นเดียวกันแล้วกระจายไปยังหลายพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศ เช่น การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก หรือการสร้างเศรษฐกิจฐานรากจากสินค้าชุมชน

ดร.กอบศักดิ์  กล่าวต่อ พอช. ยืนยันความพร้อมในการทำงานร่วมกับภาคีพันธมิตรอย่าง สสส. BOI และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อยกระดับการดำเนินงานจาก “โครงการทดลอง” สู่ “ระบบสนับสนุนถาวร” โดยจะมีการรายงานผลลัพธ์ของโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว พร้อมเชิญชวนภาคีใหม่ร่วมขับเคลื่อนในงาน “สานพลัง ครั้งที่ 2” ที่จะจัดขึ้นภายในปีนี้

“แม้เงินสนับสนุนจากรัฐจะเป็นแรงจูงใจ แต่หัวใจสำคัญของความยั่งยืนคือเจตจำนงร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคม เรายังต้องร่วมกันสานพลังเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ‘ทีละเรื่อง’ อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.กอบศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

*****************

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รุกสร้างเกราะเด็กเยาวชน รู้ทันสื่อรู้เท่าทันกลยุทธ์บุหรี่ไฟฟ้า

สสส.ผนึกเครือข่ายเดินหน้าทำงานสร้างเกราะรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า จัดใหญ่ FAKE OR FRESH? - MY LIFE EXHIBITION เปิดฟรี เด็ก-เยาวชน ผู้ปกครอง ชมนิทรรศการมีชีวิต รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า

สสส. สานพลัง CIB ปลุกพลังชุมชน กระตุ้นปุ่ม 'เอ๊ะ' เสริมเกราะป้องกันภัยออนไลน์ทุกช่วงวัย

สสส. สานพลัง กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เร่งสร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ให้กับผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน หลังพบการหลอกลวงทางออนไลน์สร้างความเสียหายนับพันล้านบาท พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเครือข่ายป้องกันในชุมชน สร้างความเท่าทันเทคโนโลยีไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

สสส. สานพลัง จุฬาฯ เพิ่มทักษะการสื่อสารกับคนวัยทำงาน ’พูดเรื่อง(ยา)ง่ายๆ ให้เป็น Routine‘ ลดเสี่ยงโรคไต

“พูดเรื่อง(ยา)ง่าย ๆ ให้เป็น Routine” สสส. สานพลัง จุฬาฯ ชวนคนวัยทำงานเรียนรู้การสื่อสารเรื่องการใช้ยาอย่างเข้าใจง่าย ลดเสี่ยงโรคไตจากพฤติกรรมการใช้ยาไม่เหมาะสม พร้อมฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์ใกล้ตัว เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในที่ทำงานและครอบครัว

สสส. ร่วมมือกับโครงการพัฒนาเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ดูแลใจกัน (Youth Mind Leader Network) เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือกับ Mindventure ในการพัฒนาโครงการ เครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ดูแลใจกัน (Youth Mind Leader Network) ส่งเสริมสุขภาวะจิตใจเยาวชนไทย ผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะการดูแลใจตนเองและผู้อื่น เช่น “Mind Festival”, “Mind Community” และ “Mind Circle” มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมรวม 432 คน และคัดเลือกเยาวชนแกนนำ 30 คน ขับเคลื่อนกิจกรรมในโรงเรียน ชุมชน และพื้นที่ออนไลน์ ขยายผลสู่เยาวชนกว่า 140,000 คนทั่วประเทศ

พอช. แจงข้อเท็จจริง “บ้านมั่นคงเพชรธนา” อุดรธานี – เดินหน้าแก้ปัญหาสหกรณ์ ฟื้นฟูความเชื่อมั่น

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ชี้แจงกรณีร้องเรียนโครงการบ้านมั่นคงเพชรธนา จังหวัดอุดรธานี ย้ำให้ความสำคัญกับความโปร่งใสของกระบวนการ

สสส. ลงพื้นที่นครศรีธรรมราช ติดตาม-หนุนภาคีท้องถิ่น ร่วมขับเคลื่อนงานควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 เเละคณะกรรมการกำกับทิศทาง ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช