'กมล กมลตระกูล' ยก Model ฟินแลนด์ - เบลเยียม แบบอย่างประสบความสำเร็จ ในความเป็นกลาง แต่ 'ยูเครน' ไม่เลือก ทำให้โลกทั้งโลกพลอยยุ่งเหยิงเดือดร้อนไปด้วย
11 มี.ค.2565- นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีเนื้อหาดังนี้
โมเดลความเป็นกลางที่ผู้นำยูเครนไม่เลือก ทำให้โลกทั้งโลกเดือดร้อนไปด้วย!
การยุติสงครามด้วยความเป็นกลางของยูเครน
CNA
Stefan Wolff and David Hastings Dunn are a Professor of International Security and a Professor of International Politics in the Department of Political Science and International Studies at the University of Birmingham respectively. This commentary first appeared in The Conversation.
หนึ่งในเหตุผลของวลาดิมีร์ ปูติน ในการใช้กำลังทหารเข้าไปปลดอาวุธในยูเครน ( Demilitarization ) ของเขาคือความจำเป็นในการถอด “มีดสั้นที่จ่อคอหอยของรัสเซีย”
โดยยืนยันถึงความเป็นกลางและกำหนดให้เป็นประเทศปลอดทหารของยูเครน
ความเป็นกลางในขอบเขตที่สามารถทำได้บนพื้นฐานของคำประกาศของปูตินที่ยืนยันมาหลายปีมาจนถึงปัจจุบัน คือ
1.ยูเครนจะต้องสละสิทธิ์ในการเข้าร่วมกับ NATO หรือสหภาพยุโรป
2.เป็นเขตปลอดทหารอย่างสมบูรณ์และ
3.ไม่อนุญาตให้ต่างประเทศ (โลกตะวันตกและนาโต) ตั้งฐานทัพทหารในยูเครน และถอนฐานทัพที่มีอยู่ให้ออกไปให้หมด
วิสัยทัศน์ของรัสเซียเรื่องความเป็นกลางสำหรับยูเครนหมายถึงรัฐบาลที่เป็นมิตรกับมอสโคว์ทั้งในนโยบายในประเทศและต่างประเทศ
Model ฟินแลนด์ของยูเครน
แนวคิดเรื่อง "Finlandisation" ของยูเครนได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง
กรอบกฎหมายสำหรับเรื่องนี้ประกอบด้วยสนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 กับฟินแลนด์และข้อตกลงมิตรภาพ ความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของฟินโน-โซเวียตปี 1948
มาตรา 8 ของสนธิสัญญาปี 1947 กำหนดให้ฟินแลนด์ห้าม "องค์กรต่างๆมาโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต" ต่อมา มีข้อตกลงปี 1948 แม้จะไม่ได้ให้ปลอดทหาร แต่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่าฟินแลนด์ต้องไม่ "เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรใดๆ ที่มุ่งต่อต้าน" สหภาพโซเวียต สนธิสัญญาสันติภาพปี 1947 กับฟินแลนด์ยังยืนยันอีกครั้งถึงบทบัญญัติของข้อตกลงสงบศึกปี 1944 ที่ฟินแลนด์จะให้สหภาพโซเวียตเช่าฐานทัพเรือให้เป็นเวลา 50 ปี ซึ่งมอสโคว์ขอยกเลิกในปี 1956
ตัวอย่างอื่นๆ ที่เป็น “แบบอย่างประสบความสำเร็จ” ในความเป็นกลางซึ่งเป็น "แนวทางแก้ไขปัญหา" ที่เป็นไปได้สำหรับวิกฤตในปัจจุบัน ได้แก่ สนธิสัญญารัฐออสเตรียปี 1955 และความเป็นกลางก่อนหน้าของเบลเยียม ซึ่งตกลงกันในการประชุมลอนดอนระหว่างปี 1830-1832
ได้กำหนดไว้ตามสนธิสัญญารัฐออสเตรีย ว่า กองเมื่อกำลังพันธมิตรทั้งหมดได้ถอนกำลังออกจากประเทศออสเตรียก็จะยึดถือความเป็นกลางถาวรโดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ และสภาต้องทำตามรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาประกาศว่า “ในอนาคตออสเตรียจะไม่เข้าร่วมกับพันธมิตรทางทหารและจะ ไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งฐานทัพทหารของต่างประเทศใด ๆ ในอาณาเขตของเธอ”
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เบลเยียมกลายเป็น “รัฐที่เป็นกลางตลอดกาล” ภายใต้เงื่อนไขของการประชุมลอนดอน มหาอำนาจทั้ง 5 แห่งในยุคนั้น ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ออสเตรีย และรัสเซีย ทำหน้าที่ “รับประกันความเป็นกลางถาวรตลอดจนการเคารพในบูรณภาพและอาณาเขต ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ของอาณาเขตของเบลเยี่ยม
จากบทสนทนาและเสวนาข้างต้น
โมเดลทั้งหมดนี้ ประธานาธิบดียูเครนเลือกได้เพื่อให้เกิดสันติภาพและการอยู่ร่วมกันกับรัสเซียอย่างถาวร เหมือนประเทศต่างๆข้างต้น แต่ไม่เลือก
โลกทั้งโลกจึงพลอยยุ่งเหยิงเดือดร้อนไปด้วยจากราคาน้ำมันแพง ค่าครองชีพสูง สินค้าขาดแคลน คนตกงาน
ผู้นำประเทศไหนเลือกข้าง ไม่เป็นกลาง จะทำให้ประชาชนของตนยิ่งเดือดร้อนมากขึ้น ( จับตาดูรัฐบาลใหม่เกาหลีใต้)
ณ. วันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งเลือกข้าง และกลับเป็นฝ่ายผลักดันรัฐบาลให้เลือกข้าง?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยูเครนป่วนสหภาพยุโรป ด้วยการแฉรายชื่อผู้สนับสนุนสงครามฝ่ายรัสเซีย
การเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องสงสัยว่า “ให้การสนับสนุน” สงครามการรุกรานของรัสเซียล่าสุด ทำให้เกิดความปั่นป่วนในยุโรป หนึ่งในนั้นมีบริษัทใหญ่ของเยอรมนีอยู่ในลิสต์ด้วย
'กมล' วิเคราะห์ก้าวไกลแลนด์สไลด์ เพราะ 8 ปีเกินพอ เผด็จการ คอร์รัปชั่น ชี้ล้มเจ้าเป็น Fake news
ต้องการล้มสถาบัน(หากมีมูล กกต. คงสั่งยุบพรรคหรือไม่นับจดทะเบียนพรรคมาให้ลงเลือกตั้งไปแล้ว) ต้องการแก้ไข ม.112 ให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและใช้กระบวนการยุติธรรมเหมือนกฎหมายทั่วไป ไม่ใช่ยกเลิก
นักวิชาการอิสระ วิเคราะห์ปัจจัย ‘ก้าวไกล’ ชนะแลนด์สไลด์
นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวหัวข้อ 'พรรคก้าวไกลชนะแลนด์สไลด์ อย่างพลิกล๊อกที่ไม่มีใครคาดคิด'
'กมล' ชี้ 'กฟผ.' สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง 100% แต่แปรรูปแอบแฝง กำไรเข้ากระเป๋านายทุน
'กมล' ชี้ กฟผ.สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง 100% แต่แปรรูปแอบแฝง กำไรเข้ากระเป๋านายทุน
'Pentagon Papers' ข้อมูลรั่วเผยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของกองทัพยูเครน
การรั่วไหลของข้อมูลเผยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของกองทัพยูเครน ความสูญเสียและสถานการณ์วิกฤตในการป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับสร้างและจัดวางกองพลเพื่