Live โชว์รายวันเป็นเหตุ change.org ตั้งกระทู้รณรงค์'ชัชชาติ'ทำระบบ Open Data ใน 6 เดือน

21มิ.ย.65-change.org ได้เปิดหัวข้อการรณรงค์ล่าสุด โดยผู้ใช้ชื่อว่า”Jittat Fakcharoenphol “เกี่ยวกับ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครความว่า


ในช่วงที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ เปิด Live โชว์การทำงานทุกวัน จนมีคนติดตามอย่างคึกคัก ก็มีแคมเปญใหม่จากอาจารย์ท่านนึง ที่อยากส่งเสียงฝากถึงผู้ว่าฯ ให้จัดทำระบบข้อมูลเปิด (Open Data) ภายใน 6 เดือนแรกของการทำงาน เพื่อเป็นโอกาสให้ประชาชนและสื่อสามารถเข้าถึงข้อมูล ช่วยกันตรวจสอบความโปร่งใสของโครงการต่างๆ ของ กทม. ได้สะดวกยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับนโยบายที่ผู้ว่าฯ เคยหาเสียงไว้ก่อนหน้านี้ ที่บอกว่าถ้าทำได้ ก็อยาก “ย้ายเมืองหลวงไปอยู่บนระบบ Cloud”

เหตุผลของหัวข้อการรณรงค์ครั้งนี้ระบุว่า หลังจากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้คะแนนจากประชาชน 1.3 ล้านเสียง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากการเลือกตั้ง หลังจากมีผู้ว่าฯ จากการแต่งตั้งด้วย ม.44 มาตลอดระยะเวลา 5 ปี ซึ่งทำให้กลไกการตรวจสอบ และติดตามผลงานนั้นไม่สามารถทำได้อย่างโปร่งใส

ระบบ Open Data หรือ ระบบข้อมูลเปิดนั้น เป็นการนำข้อมูลที่สำคัญมาเปิดเผยให้กับประชาชนและสื่อมวลชน ให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อที่จะสามารถตรวจสอบ คัดค้าน และมีส่วนร่วมได้ โดยสามารถนำข้อมูลขึ้นไปที่ระบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ตัวอย่างในหลายประเทศที่นำระบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเข้ามาให้ประชาชนได้เข้าถึงสะดวก เช่น สิงคโปร์ และไต้หวัน

แม้ว่าในปัจจุบันมีชุดข้อมูลเปิดเกี่ยวกับกรุงเทพมหานครเผยแพร่อยู่ที่ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ข้อมูลไม่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัย และยังขาดข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์อีกมาก

ในช่วงหาเสียง คุณชัชชาติได้พูดในรายการ ป๋าเต็ดTalk ว่า ถ้าย้ายเมืองหลวงได้จะย้ายไปอยู่บนระบบ Cloud เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลต่างๆ และสร้างกรุงเทพฯให้เป็นเมืองหลวงของคนไทยอย่างแท้จริง

จึงอยากเสนอข้อเรียกร้องไปถึงผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่

เริ่มพัฒนาฐานข้อมูล: ขอให้เริ่มต้นกระบวนการออกแบบ รวบรวม วางแผนการจัดการเก็บ และบริหารข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลที่มีประโยชน์และมีความสำคัญ รวมทั้งลดความซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดของข้อมูลที่จะเปิดเผยต่อประชาชน ควรจะมีแผนงานว่าระบบจะรวมเอาข้อมูลใดบ้างพร้อมทั้งระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน แผนงานดังกล่าวควรทำให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนหลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการจาก กกต.


จัดการข้อมูลที่มีอยู่เดิม: สำหรับข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดกทม. ที่มีการเก็บอยู่ในรูปของดิจิทัลอยู่แล้วและจะเป็นประโยชน์ต่อการติดตาม การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขอให้นำเข้าระบบข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างเป็นระบบและปรับให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวที่จะกระทบกับชีวิตของตัวเอง ตัวอย่างของข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนที่น่าจะมีอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและสามารถเปิดเผยได้ไม่ยากนัก เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและการติดตามผล ข้อมูลการใช้งานทรัพย์สินและพื้นที่สาธารณะ ข้อมูลการจัดการบริการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครเป็นต้น การเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ควรทำให้แล้วเสร็จในเวลา 6 เดือนเช่นกัน


Data privacy: ในการเปิดเผยข้อมูลควรยึดหลักประโยชน์ต่อสาธารณะ พร้อมกับเคารพความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล
เปิดช่องทางร้องเรียน: ถ้าหากประเด็นใดที่ประชาชนเห็นว่าไม่โปร่งใส ควรมีช่องทางร้องเรียนถึงผู้ว่าฯ กทม. ตามที่ได้หาเสียงไว้ว่า “ไม่ส่วย ไม่เส้น”


ท้ายสุด อยากจะเชิญชวนชาวกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ร่วมกันใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของการบริหารกรุงเทพฯ เพื่อให้ระบบการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่โปร่งใส เป็นต้นแบบให้กับการเมืองระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นอื่นๆ ต่อไป


change.org ได้รายงานว่าล่าสุดมีผู้เข้าชื่อร่วมรณรงค์แล้ว 318 คน และขอให้ผู้เห็นด้วย ร่วมลงชื่อให้ครบ 500 คน .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก