ฉายแววเทรนด์ BCG ปี 66

ที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงการดำเนินงานหรือการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบ BCG มาโดยตลอด จนทำให้ในปี 2566 นี้ถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือการปรับเปลี่ยนสู่ BCG และหากใครยังไม่เปลี่ยนแปลงก็จะถือว่าใกล้ตกขบวนแล้วจริงๆ จึงทำให้เห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มมีการประกาศเจตนารมณ์อย่างจริงจังแล้ว

และมีแผนงานชัดเจนว่าในปีนี้ ปีหน้า และปีต่อๆ ไปจะทำอะไร เพื่อให้เกิดอะไร ซึ่งแน่นอนว่าคนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจว่าการเปลี่ยนรูปแบบไปสู่ภาคอุตสาหกรรม หรือบริการแบบ BCG จะช่วยอะไร...?

จึงอยากเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า ตัว BCG นั้นเป็นหนึ่งในแผนงานที่จะช่วยโลก ในทางที่จะทำให้โลกดีขึ้น และไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเรื่องของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่ง BCG จะเข้ามาช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม การลดปัญหาโลกร้อนผ่านเศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสรุปไว้ว่า BCG จะช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในหลายมิติ และหลายด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านเศรษฐกิจจะทำให้คนตกงานเริ่มหันกลับมาสนใจการทำงานในภาคการเกษตร ช่วยลดภาวะการว่างงาน และทำให้เกิดความก้าวหน้าด้านเกษตรอาหาร ด้านความมั่นคงทางอาหาร จะผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตอาหารส่วนเกินพวกกลุ่มแป้ง น้ำตาล มาผลิตเป็นกลุ่มโปรตีน จนเกิดเป็นความมั่นคงด้านอาหาร

ด้านพลังงาน จะทำให้ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติลง จากเดิมที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าถึง 60% และมีแนวโน้มว่าจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากในอนาคต ซึ่ง BCG จะเข้ามาช่วยให้ไทยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ด้านความยั่งยืน จะทำให้สามารถลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงไป ส่วนด้านการท่องเที่ยว ในรูปแบบเดิมอาจทำให้ธรรมชาติสึกหรอ แต่เมื่อมีการวางแผนการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการดูแลธรรมชาติ จะทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

และองค์กรขนาดใหญ่อย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็เดินหน้าเรื่อง BCG เช่นกัน ตามนโยบาย หรือเทรนด์ของการดำเนินงาน โดยการผสานพลังระหว่าง 5 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับนายโทโมอากิ อิชิดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซุย โอ.เอส.เค ไลน์ จำกัด, นายคิมิโฮะ ซากุราอิ รองผู้อำนวยการบริษัท ชิโยดะ คอร์ปอเรชั่น และนายโชอิจิ โอกิวาระ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อศึกษาและพัฒนาโครงการไฮโดรเจนและแอมโมเนียสะอาดครบวงจร

รวมถึง MOU เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ กับนายฮิโรโนบุ อิริยะ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) และ MOU เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (BESS) กับนายโคจิ ทาเคดะ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง บริษัท IHI Corporation ในการประชุม 1st Asia Zero Emission Community Ministerial Meeting โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ร่วมเป็นสักขีพยาน

ซึ่งความร่วมมือใน MOU ทั้ง 3 ฉบับจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำในระดับสากล นำไปสู่การขับเคลื่อนเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่กับสิ่งแวดล้อมที่ดีและความยั่งยืนด้านสภาพภูมิอากาศโลกในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย

ด้าน นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. ได้กล่าวว่า ความสำคัญของเทรนด์พลังงานโลกที่เปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด กฟผ.จึงได้แสวงหาเชื้อเพลิงทางเลือกใหม่สำหรับใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยไฮโดรเจนและแอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคตที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเผาไหม้ ขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ BESS เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่า หลังจากนี้ในปี 66 เราจะได้เห็นอีกหลายองค์กรเปิดฉากการดำเนินงาน รวมถึงความร่วมมือในด้านของ BCG ที่ชัดเจนมากกว่านี้แน่นอน เพราะเป็นเทรนด์สำคัญที่จะทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร แล้วยังดูแลโลกอย่างจริงจังด้วย.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล