รัฐต้องลุยส่งออกธุรกิจบันเทิง

เห็นข่าวที่วัยรุ่นชาวเม็กซิกันมารวมตัวต้อนรับศิลปิน 4 MIX จากประเทศไทย เต็มแน่นลานการแสดงจนเบียดเสียดไม่ต่ำกว่า 2-3 พันคน นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและดีใจมากๆ เพราะนี่ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการบันเทิงไทย ที่สามารถส่งออกคอนเทนต์แบบใหม่ๆ ไปตีตลาดในต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างภาพยนตร์และละครนั้นถือเป็นตัวบุกเบิกในการตีตลาดต่างประเทศมาก่อนนับสิบปี แต่ล่าสุดจากปรากฏการณ์ดังกล่าวเริ่มเห็นสัญญาณที่ดี ที่วงการดนตรีและเพลงของไทยเริ่มได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ ซึ่งก็ทราบกันดีว่าตลาดเพลงนั้นประสบความสำเร็จในตลาดอินเตอร์ได้ยากกว่าหนังหรือละครมาก เพราะมีอุปสรรคทางด้านภาษาอยู่ เพราะพื้นฐานของคนทำเพลงนั้นเน้นทำให้คนไทยฟังกันเอง แต่การได้เห็นเพลงไทยได้รับความนิยมในต่างแดน จึงนับเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก

นี่ถือเป็นการจุดประกายที่สำคัญ ในการสร้างสินค้าส่งออกรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นการส่งออกทางวัฒนธรรม ถือเป็นการลงทุนที่ต่ำ ใช้ทรัพยากรน้อย แต่เน้นไปที่ความคิดสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าสูง ทั้งนี้ หากไทยสามารถส่งออกสินค้าทางความบันเทิงได้ เหมือนที่ทางเกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่นทำ จะยิ่งส่งผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดไปใช้ สินค้าไทยที่จะตีตลาดต่างประเทศง่ายขึ้น รวมถึงการเพิ่มการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์สิ่งที่ต้องชื่นชมเป็นพิเศษคือ ท่านทูต 'ไพศาล หรูพาณิชยกิจ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ที่ส่งเสริมได้ถูกจุด หลังจากเห็นข้อมูลเกี่ยวกับความนิยมในเรื่องความบันเทิงไทยในประเทศแถบลาตินอเมริกา ก็เริ่มเดินหน้าช่วยเอกชนโปรโมตทันที นับเป็นวิสัยทัศน์ที่มองขาด และยังทำหน้าที่ในการช่วยโปรโมตไทยได้อย่างถูกทาง หากได้เข้าไปติดตามหน้าเพจของสถานทูตเม็กซิโก ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสินค้าบันเทิงจากไทยต่อเนื่อง

นี่ถือเป็นการเจาะตลาดที่ได้ผล เพราะทางสถานทูตนั้นมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยต่อเนื่อง มีการเปิดให้แข่งขันร้องเพลงไทย และกิจกรรมส่งเสริมความเป็นไทยอีกมากมาย ซึ่งนี่ถือเป็นการใช้ซอฟต์เพาเวอร์ในการแทรกซึมตลาด ซึ่งถือว่าเรื่องนี้ทางสถานทูตประเทศอื่นๆ รวมถึงรัฐบาลจะต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการส่งออกทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น

เพราะจริงๆ แล้วอุตสาหกรรมบันเทิงไทยไม่ได้ตีตลาดในแถบลาตินเท่านั้น แต่ในปัจจุบันกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเกือบทุกชาติก็เริ่มตกหลุมสื่อบันเทิงไทย ไม่นับรวมญี่ปุ่น จีน หรือแม้กระทั่งเกาหลี รวมไปถึงในเอเชียใต้ อย่างอินเดียและศรีลังกา ที่ก็ติดตามสื่อบันเทิงไทยเช่นกัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่าตลาดยังเปิดกว้างอยู่มากทีเดียว

แต่สิ่งที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมบันเทิงของไทยขยายตัวไปได้ ไม่ใช่แค่เพียงการลงทุนและการทำตลาดของภาคเอกชนเท่านั้น รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญมากที่สุด ซึ่งจะต้องทำตัวเป็นโต้โผใหญ่ในการสนับสนุนทุกช่องทางให้ภาคเอกชนเดินหน้าไปต่อ

ไม่ว่าจะเปิดเรื่องงบสนับสนุน, การเจาะตลาด หรือสร้างกิจกรรมโปรโมต ดังจะเห็นโมเดลอย่างประเทศเกาหลีใต้ ที่มีเจ้าภาพดูแลในเรื่องการส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีอย่างครบวงจร อย่าง สถาบัน ‘The Korea Creative Content Agency’ หรือ ‘KOCCA’ ซึ่งมีหน้าที่ออกกฎระเบียบที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาเทคโนโลยี สนับสนุนภาคเอกชนโดยเฉพาะรายเล็กๆ ในการจัดตั้งธุรกิจด้านเนื้อหาวัฒนธรรม รวมทั้งยังร่วมลงทุนและให้กู้ หน้าที่ของ KOCCA ยังครอบคลุมไปถึงการสนับสนุนการขยายตลาดวัฒนธรรมไปยังต่างประเทศเพื่อเป็นธุรกิจ โดยปัจจุบัน KOCCA ได้ให้การส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมอยู่ 12 ธุรกิจ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์คลื่นดิจิทัล (Broardcasting), เพลง (Music), เกม (Game), การ์ตูน (Comics), ภาพเคลื่อนไหว (Animation), คาแร็กเตอร์ (Character licensing), แฟชั่น (Fashion), การขยายไปยังต่างประเทศ (Overseas expansion), เทคโนโลยีวัฒนธรรม (Culture Technology R&D), การสร้างเนื้อหา สำหรับคนรุ่นหลัง (Next-generation content), การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development), การสร้างศูนย์สนับสนุนและเรียนรู้ด้านธุรกิจ (CKL Business support center & Academy)

เมื่อมีเคสให้เรียนรู้ เราเชื่อแน่ว่า เรื่องของความบันเทิง และความคิดสร้างสรรค์ของไทยนั้นไม่แพ้ใคร คนไทยมีดีเอ็นเอของความเป็นศิลปินเต็มเปี่ยม เห็นได้จากสถาปัตยกรรม, อาหาร, ศิลปะการต่อสู้ รวมถึงการ ร้อง เล่น เต้น ไทยเราถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นถ้าส่งเสริมถูกทาง ธุรกิจความบันเทิงของไทยมีสิทธิ์ขึ้นไปสูสีกับยักษ์ใหญ่ของเอเชีย อย่างเกาหลี จีน ญี่ปุ่นได้

เชื่อเถอะว่า ถ้าสามารถใช้ซอฟต์เพาเวอร์ที่มีเสน่ห์แบบไทยๆ ได้ ประเทศของเราจะได้รับประโยชน์อีกมหาศาลเลยทีเดียว.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล