กพย. ชี้ "กัญชา" ให้คุณการแพทย์ รักษา 6 โรค ลด 4 อาการป่วย เตือน มีโทษถ้าใช้ไม่ถูกต้อง เพลีย ถึงขั้นซึมเศร้า ร่วม สสส. เป็นคลังสมอง เร่งพัฒนาองค์ความรู้ เฝ้าระวัง ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 กระทรวงสาธารณสุข ได้ปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้กระแสเรื่องกัญชาเป็นที่สนใจ กพย. ร่วมกับ สสส. สร้างความเข้มแข็งกลไกเฝ้าระวังระบบยา สร้างและจัดการความรู้ระบบยาเพื่อการเฝ้าระวังเตือนภัยสังคม รวมทั้งพัฒนางานวิชาการเพื่อสนับสนุนนโยบายและดำเนินการตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับระบบยามาอย่างต่อเนื่อง “กัญชา” ถือเป็นสมุนไพรมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง ใช้เกินความจำเป็น หรือมีสาร THC เกิน 0.2% อาจทำให้เกิดอาการวิกฤตที่ส่งผลต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศได้

 ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า กัญชา มีสาระสำคัญหลากหลายชนิด เช่น แคนนาบินอยด์ นำมาใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดของโรค คำแนะนำในการใช้กัญชามาใช้ในทางการแพทย์ ปี 2564 โดยกรมการแพทย์ ระบุว่า กัญชารักษา 6 โรค/ภาวะ 1.ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด 2.โรคลมชักที่รักษายาก 3.ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง 4.ภาวะปวดประสาท 5.ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย 6.เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะสุดท้าย และพบหลักฐานเชิงประจักษ์ในการช่วยควบคุมอาการ แต่ไม่ได้รักษาให้โรคหายขาดอีก 4 โรค 1.โรคพาร์กินสัน 2.โรคอัลไซเมอร์ 3.โรควิตกกังวลทั่วไป 4.โรคปลอกประสาทอักเสบ ซึ่งควรใช้ตามแพทย์สั่ง ประกอบกับแจ้งยาที่ใช้ส่วนตัว พร้อมศึกษาค้นหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้ที่ถูกต้อง และเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด

“กัญชา มีทั้งประโยชน์และโทษ ข้อมูลที่จำเป็นในการกำกับดูแลกัญชา-กัญชง โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบผลข้างเคียงของกัญชา เช่น ง่วงนอน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับอักเสบ ผิวผดผื่น อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ก้าวร้าว ขณะนี้ กพย. ร่วมกับ สสส. เร่งการศึกษาเรื่องของกัญชาในระยะยาวในมิติด้านประโยชน์ทางการแพทย์ มิติทางสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และมิติด้านความมั่นคงทางยาและสุขภาพ ให้มีข้อมูลความรู้ให้ประชาชนได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการที่จะนำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อไป” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

'อนุทิน' จ่อถอดเทป 'เศรษฐา' จ้อสื่อนอก ลั่น 'กัญชาเสรี' อยู่ในนโยบายรัฐบาล

'อนุทิน' ยัน 'กัญชา' มีประโยชน์ทางการแพทย์-เศรษฐกิจ บรรจุในนโยบายรัฐบาลแล้ว หลังนายกฯ ระบุจะนำกลับบัญชียาเสพติด ชี้หากเปลี่ยนแปลงต้องแก้กฎหมายหลายตัว เยียวยาผู้ทำถูกต้อง

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง