มหิดลผนึก สสส.จับมือ 25 สถาบัน upskill..บุคลากรสาธารณสุข

ทุกวันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวไกล ความรู้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยแล้วปฏิบัติหน้าที่ใช้ความรู้เดิมไม่เพียงพอแล้ว จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ upskill เพิ่มทักษะด้วยการเติมเต็มความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะต้องมีการยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พัฒนาการต่อยอดท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเพิ่มประสบการณ์ด้วยโครงการจัดการเรียนการสอน Nondegree Program การเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์ เลือกเรียน anywhere anyplace เติมเต็มความรู้ได้ตลอดเวลา การเรียนปริญญาตรีสั้นลง สามารถเลือกเรียนควบต่อปริญญาโทได้ เป็นความยืดหยุ่นของระบบการศึกษาสมัยใหม่

.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรื่องการพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2565 ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.บรรจงกล่าวว่า “การลงนามความร่วมมือในวันนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญ ในการร่วมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ ด้านการสร้างเสริมศักยภาพของบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาอื่นๆ ที่มีความถนัดและต้องการศึกษามากกว่า 1 สาขา ที่สำคัญมีโครงการระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในวิชาที่ตนเองสนใจเก็บเข้าในระบบดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้กว้างขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของประเทศและโลกในอนาคต ดังนั้น อาจารย์ที่เข้ามาสอนในหลักสูตรนี้สามารถเลือกจาก outsource ด้วยทักษะความรู้จากประสบการณ์วิชาชีพเป็นการ share resource”

สสส.มีคนหน้างานมีประสบการณ์ ผนึกกำลังร่วมกับมหิดล บางคนทำงานอยู่แล้วก็เข้ามา Upskill ได้ประกาศนียบัตรอบรม การเรียนแบบยืดหยุ่นได้ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความสนใจด้านสาธารณสุขก็มาลงเรียนที่คณะสาธารณสุขของมหิดล และนับหน่วยกิตที่ ม.เกษตรศาสตร์ เป็นการเรียนฟรีใน 25 มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือใครสนใจก็เข้ามานั่งเรียนแบบ sit in โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียน แต่ถ้ามีการออก field จะมีค่าใช้จ่ายหรือถ้าต้องการtranscriptก็แจ้งขอได้ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นการตอบโจทย์ม.มหิดลช่วยประเทศชาติผลิตบัณฑิต เพราะบุคลากรของม.มหิดลก็รับเงินเดือนจากภาครัฐอยู่แล้ว

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า มหิดลเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข และยังเป็นภาคีสำคัญด้านวิชาการในการจัดการความรู้หลายด้าน ทั้งการวิจัยและการส่งเสริมป้องกันโรค อาทิ โครงการการจัดการด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อมของอาหารริมบาทวิถี โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล องค์ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายของคนไทยผ่านศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหิดล ศูนย์วิชาการด้านการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหิดล ซึ่งความร่วมมือพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ เพื่อร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป รวมทั้งร่วมกันพัฒนาหลักสูตร ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มทักษะที่สำคัญของศตวรรษที่ 21

.ดร.พญ.พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้ริเริ่มพัฒนารายวิชาแบบ Micro-Credentials และสนับสนุนให้ส่วนงานต่างๆ ของมหิดล จัดทำรายวิชา Microcredit ที่แบ่งย่อยหน่วยกิตให้เล็กลง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ และการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งบุคคลในวัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงวัย สามารถสะสมหน่วยกิตในระบบธนาคารหน่วยกิต แล้วนำมาเทียบโอน เพื่อร่นระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา และประหยัดค่าใช้จ่าย โดยยังคงคุณภาพขององค์ความรู้ที่คัดสรรจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางวิชาการระดับโลก

รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) สสส. กล่าวว่า สสส.ได้จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพขึ้น มีหน้าที่สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตร ศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เผยแพร่และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสนับสนุนและฝึกอบรม จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานของ สสส. หรือบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพเป็นวิทยากรให้ความรู้ ให้บริการทางวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่ภาคีเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้ มีการจัดทำ Microcredit ของหลักสูตรฝึกอบรมของ ThaiHealth Academy กับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาต่างๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย มหิดล ดังนั้นจะเอื้อให้ภาคีเครือข่ายที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรของ ThaiHealth Academy สามารถเก็บสะสมหน่วยกิตของรายวิชาที่เทียบเคียงในระบบธนาคารหน่วยกิตได้

การพัฒนาหลักสูตรสุขภาวะในชุมชน Health Promotion นโยบายสาธารณสุข การสร้างภาคีเครือข่าย มหาวิทยาลัยเป็นคลังความรู้ เป็นการนำคนจากสองโลกมาพบกัน งานวิจัย พนักงาน การบริการ จากเดิมที่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ แต่มาช่วยกันคิดและลงมือทำเป็นการตอบโจทย์หลักสูตร ขณะนี้ระดับบัณฑิตศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์เริ่มสอนในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกแล้ว มาตรฐานมหิดล เพื่อจะเป็นนักสุขภาวะสร้างสังคมสุขภาวะ นัก Influencer สร้างคนในชุมชนออกมาทำงานเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร เชื่อมต่อเครือข่าย การเข้าถึงระบบบริการสาธารณะให้ประโยชน์กับชุมชน

ต้องยอมรับว่า ความรู้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากสังเกตได้ว่าเครื่องมือแพทย์มีการพัฒนาใหม่ๆ ที่แพทย์เองก็ต้องเรียนรู้ให้เกิดความเชี่ยวชาญ รวมทั้งตัวยาใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมไม่หยุดนิ่ง โครงการความร่วมมือระหว่างมหิดลและ สสส. จึงเป็นการตอบโจทย์กระแสอภิวัฒน์และนวัตกรรมใหม่พร้อมไปกับการหมุนไปของโลกนั่นเอง.

***

หลักสูตรเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

รศ.ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลังสถานการณ์โควิด คณะสาธารณสุขทุกมหาวิทยาลัยทั่วโลกมีบทบาทเปลี่ยนเป็น Health Promotion เป็นจุดเด่นในการอบรม Wellness คณะสาธารณสุขในเมืองไทยพัฒนาตัวเองอยู่ในลำดับต้นๆ เกรด A ด้วยจุดสนใจในมิติใหม่ในการจัดการด้านสาธารณสุข ในการดึง Health Promotion เข้ามามีบทบาท

"จุดอ่อนของงานสาธารณสุข คือการสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจมีข้อจำกัด ดังนั้นจำเป็นต้องดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมาร่วมมือกัน สังเกตได้ว่าถ้า สสส.ทำสื่อจะสร้างความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ไม่เป็นงานวิชาการหรือวิจัยจนเกินไป งานสาธารณสุขเป็นงานส่งเสริมด้านสุขภาพในมิติหนึ่ง เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากความเป็นจริงของสังคม นำทฤษฎีและปฏิบัตินำมาใช้ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพ"

หลักสูตรความร่วมมือนี้ ผู้เรียนจะได้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ นำมาถ่ายทอด ถือเป็นการปรับหลักสูตรที่ออกไปหาประสบการณ์จริง มากกว่าเพียงการเรียนในห้องเรียนแล้วนั่งดูสไลด์เท่านั้น หลักสูตรใหม่นี้เป็นการออกแบบร่วมกันระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรที่ได้รับโอกาสและความร่วมมือในการใช้ประสบการณ์จริง

โดยเริ่มจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ เป็นสาขาแรก สำหรับระยะต่อไปจะจัดทำ Training course รายวิชาอื่นๆ ในรูปแบบ Microcredit และความร่วมมือด้านการฝึกภาคสนาม (Field internship หรือ Field study) ด้านส่งเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาของหลักสูตร และระยะต่อไป จะมีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันที่ตอบโจทย์ความต้องการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์มีหลายภาควิชา/หลักสูตร ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาร่วมกันได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง