จากจุดเล็กๆ เพื่อพัฒนาโลก

ในปัจจุบันที่โลกกำลังเปลี่ยนไปสู่การดูแลและเข้าใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินงานตาม ส่วนสำคัญคือ การดำเนินงานตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ยึดถือเทรนด์โลกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเหตุผลที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยประเทศไทยเองมีหลายหน่วยงานที่กำลังทำความเข้าใจ ศึกษา และต่อยอดเทรนด์นี้ให้สามารถประสบความสำเร็จได้โดยเร็ว จึงเกิดความร่วมมือต่างๆ มากมาย ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เองก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เริ่มต้นสร้างความร่วมมือเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

เพราะล่าสุดเห็นว่าได้ไปลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) “โครงการ Smart Campus - Khon Kaen University” กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เพื่อต่อยอดหลังจาก “โครงการวิจัยและพัฒนา ENGY Wall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”

ซึ่ง กฟผ.ได้นำแบตเตอรี่ที่พัฒนาและผลิตโดย มข.มาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Battery Energy Storage System (BESS) ภายใต้ชื่อ ENGY Wall ซึ่งเป็น BESS สำหรับใช้ในบ้านประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่

โดยโครงการสมาร์ท แคมปัส ใหม่นี้จะมีการร่วมมือจัดทำภายในพื้นที่ มข. เพื่อผลักดันให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้พลังงานสะอาด และเป็นสถานที่พัฒนาระบบ Smart Energy Solutions แบบครบวงจร โดย กฟผ.ได้ออกแบบโครงการ Smart Campus มข. ในรูปแบบรัฐกับรัฐ (G2G) ให้บริการบริหารจัดการค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า) โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบรับประกันผลงาน ประกอบไปด้วย 6 ระบบ อาทิ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (EMS) เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานให้มีการเชื่อมต่อกับระบบกักเก็บพลังงาน ENGY Wall ที่สะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลาที่ระบบต้องการ

เพื่อจะสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพลังงาน ความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ควบคู่กับระบบบริหารจัดการรายอาคาร (ENZY Platform) เพื่อติดตามและควบคุมการใช้พลังงานในอาคารต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบปรับอากาศที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) มาควบคุมปรับอุณหภูมิได้อัตโนมัติ พร้อมระบบแจ้งเตือนค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ใช้ไฟสามารถปรับลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ทันที โดยตั้งเป้าติดตั้งกับอุปกรณ์ระบบปรับอากาศขนาดไม่น้อยกว่า 20,000 บีทียู

อีกทั้ง กฟผ.จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ภายในพื้นที่ มข. และระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ในกลุ่มของอาคารกีฬาและหอพักขนาด 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อกักเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar System หรือบางช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่มีแล้ว มาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการ โดยเพิ่มขีดความสามารถการซื้อขายไฟผ่านระบบการซื้อขายไฟ (ETP) ในรูปแบบเพียร์-ทู-เพียร์ ระหว่างคณะ หรืออาคาร ซึ่งเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเดิมของอาคารผ่านอุปกรณ์สมาร์ทมิเตอร์ที่มีระบบออกบิลเพื่อติดตามค่าไฟฟ้า มูลค่าการเสนอซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาด้วย

นอกจากนี้ เห็นว่าจะมีแผนติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ Wallbox แบบชาร์จปกติ (Normal Charge) และแบบจ่ายไฟฟ้ากลับเข้ามาในระบบไฟฟ้า (V2G) สามารถเก็บเงินจากผู้ที่มาใช้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ผ่านระบบรองรับการจ่ายเงินที่สามารถผ่านระบบออนไลน์ได้ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนแผนนโยบายการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ (เน็ตซีโร) ของ มข. มุ่งสู่ Smart Campus อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

นางสาวจิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า บันทึกข้อตกลงมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี กฟผ.และ มข.จะร่วมดำเนินการติดตั้งระบบต่างๆ พร้อมสนับสนุนให้บุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงานได้เข้าร่วมการศึกษา วิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ ต่อยอดประสบการณ์การพัฒนาระบบสมาร์ท เอนเนอร์ยี โซลูชั่น เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เมืองอัจฉริยะและสร้างประโยชน์ต่อประเทศร่วมกันต่อไป

ซึ่งเชื่อได้เลยว่าจากความร่วมมือไม่ว่าจะครั้งนี้ หรือครั้งต่อๆ ไปของทั้ง กฟผ. และหน่วยงานอื่นๆ แม้จะเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แต่ก็จะสามารถต่อยอดการพัฒนาโลกไปสู่จุดมุ่งหมายใหญ่ที่ตั้งใจจะดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์และสวยงามได้อย่างแน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา