ปฏิเสธผู้โดยสารโดนตัดแต้ม

หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้ปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีผลเฉพาะแท็กซี่มิเตอร์ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ที่อยู่ในระบบทั้งหมด 80,000 คัน จากที่ให้บริการจริงในปัจจุบัน 60,000 คัน โดยหลังจากมีมติให้ปรับขึ้นค่าโดยสารแล้ว จำนวนรถแท็กซี่ที่มีอยู่ต้องนำมาปรับจูนมิเตอร์ค่าโดยสารใหม่ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แน่นอนว่าการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารครั้งนี้ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป และคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

โดยในส่วนของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ร่วมมือกับ 4 บริษัทเอกชน ได้แก่ บริษัท เพาเวอร์เมติค จำกัด (ยี่ห้อ Printax, ROYAL), บริษัท ซันไทมิเตอร์ จำกัด (ยี่ห้อมิเตอร์ 3TM), บริษัท จีพีเอสไทยสตาร์ จำกัด (ยี่ห้อ G-TAX) และบริษัท ทีเอชที โปรเกรส จำกัด (ยี่ห้อ PROFITTO) ในการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ขับรถแท็กซี่ในการปรับจูนมิเตอร์ตามอัตราค่าโดยสารใหม่ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่วันที่ 16-30 ม.ค.2566 มียอดผู้ขับรถแท็กซี่ที่นำมิเตอร์มาปรับจูน ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) จำนวน 19,923 คัน

ปัจจุบันพบว่าบริษัท เพาเวอร์เมติค จำกัด (ยี่ห้อ Printax, ROYAL) ให้บริการปรับจูนจำนวน 5,609 คัน, บริษัท ซันไทมิเตอร์ จำกัด (ยี่ห้อมิเตอร์ 3TM) ให้บริการปรับจูนจำนวน 10,886 คัน, บริษัท จีพีเอสไทยสตาร์ จำกัด (ยี่ห้อ G-TAX) ให้บริการปรับจูนจำนวน 2,857 คัน และบริษัท ทีเอชที โปรเกรส จำกัด (ยี่ห้อ PROFITTO) ให้บริการปรับจูนจำนวน 1,658 คัน ทั้งนี้ ผู้ขับรถแท็กซี่ที่ใช้มิเตอร์ของ 4 บริษัทดังกล่าวยังสามารถนำมิเตอร์มาปรับจูนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 28 ก.พ.2566 ในวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แท็กซี่ได้ปรับขึ้นค่าโดยสารใหม่ครั้งนี้ ขนส่งทางบกประเมินว่าจะทำให้คนขับรถแท็กซี่มีรายได้เพิ่มประมาณ 180 บาทต่อคันต่อวัน โดยเน้นย้ำให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องพัฒนาคุณภาพในการให้บริการประชาชน ไม่ปฏิเสธผู้โดยสารหรือไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้ใช้บริการในการเก็บค่าโดยสารเกินจากมิเตอร์ รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกอย่างเคร่งครัดด้วย

สำหรับการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ผ่านมามีข้อร้องเรียนจากผู้ขับแท็กซี่ได้ยื่นเรื่องถึงกระทรวงคมนาคมและขนส่งทางบก ขอปรับอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (แท็กซี่มิเตอร์) ดังนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จึงสั่งการให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากเวทีสาธารณะ โดยมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาคุ้มครองผู้บริโภค นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งสาธารณะ และองค์การนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ)​ เป็นต้น ซึ่งได้ข้อสรุปว่าทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกัน ให้พิจารณาปรับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ เนื่องจากดัชนีผู้บริโภค (ซีพีไอ) เพิ่มขึ้น 7% จาก 5 ปีก่อน หรือตั้งแต่ปี 2560

แน่นอนว่าขนส่งทางบกได้เน้นย้ำให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องพัฒนาคุณภาพในการให้บริการประชาชน ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร หรือไม่ฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้ใช้บริการในการเก็บค่าโดยสารเกินจากมิเตอร์ รวมถึงให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารตามประกาศดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม

จากนี้ไปขนส่งทางบกจะนำระบบตัดแต้มรถโดยสารสาธารณะมาใช้ควบคุมและกำกับคุณภาพการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการของรถแท็กซี่ และดำเนินการลงโทษผู้ฝ่าฝืนขั้นสูงสุด ซึ่งมีโอกาสถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถได้ หากประชาชนพบเห็นรถแท็กซี่มีพฤติกรรมปฏิเสธผู้โดยสาร ขับรถประมาท พูดจาไม่สุภาพ หรือเรียกเก็บค่าโดยสารเกินจากมิเตอร์ สามารถแจ้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง.

 

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ตลาดรถยนต์ไทย”ช่วงเปลี่ยนผ่าน

ประเทศไทย ถือเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศก็เริ่มมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

จัดทัพกำชับนโยบายอุตสาหกรรม

จากการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านมาหลายเดือนก็เริ่มเห็นนโยบายที่ชัดเจนขึ้น และการบูรณาการการทำงานของหลายๆ หน่วยงานไปพร้อมๆ กัน จากสิ่งแรกที่เห็นคือการปรับปรุงนโยบายของกระทรวงภายใต้คำว่า MIND “ใช้หัวและใจ” ทำงาน โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่

ปีนี้ได้ใช้แน่รถไฟฟ้าสายใหม่

จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ หลายสายทาง โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี

เมื่อเศรษฐกิจไทยมองเห็นแสงสว่าง

มีข่าวดีสำหรับคนไทยและเศรษฐกิจไทย เมื่อทางกระทรวงพาณิชย์ โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ออกมาแถลงข่าวถึง ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ในเดือน ก.พ.2566 ซึ่งพบว่ามีตัวเลขอยู่ที่ 108.05 เทียบกับ ม.ค.2566 ลดลง 0.12% และเมื่อเทียบกับ เดือน ก.พ.2565 เพิ่มขึ้น 3.79% ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 เดือน