แพทย์เตือนห้ามเสี้ยมเด็ก-ทนายชี้ต้องแยกค่าเลี้ยงดูลูกไม่ใช่แม่!


เพิ่มเพื่อน    

กดเพื่อนอ่านข่าว'กอล์ฟ'กลั้นน้ำตาสงสาร'ไมค์' ลั่นข้อเรียกร้อง'ซาร่า'ไม่เมคเซ้นส์!

 

          สืบเนื่องจากประเด็นดราม่าที่สาวซาร่า คาซิงกินี ไลฟ์สดผ่านอินสตาแกรมพร้อมน้องแม็กซ์เวลล์ โดยมีบางตอนที่แฟนๆคอมเม้นท์มาว่าแดดดี้รักแม็กซ์เวลล์ สาวซาร่าจึงอ่านให้ลูกฟังแต่น้องแม็กซ์เวลล์กลับถามกลับมาว่าโกหกหรือเปล่า ทำไมถึงเตะออกจากคอนโด ล่าสุดรายการโหนกระแสวันนี้ หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย ได้สัมภาษณ์ กอล์ฟ พิชญะ, นพ. ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผอ.รพ.แพทย์รังสิต และ ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ ถึงประเด็นดังกล่าว

ในฐานะจิตแพทย์เด็ก เด็ก 5-6 ขวบ เขาสามารถมีความคิดตอบเองได้ไหมว่า จริงเหรอ เตะจากคอนโดทำไม อะไรแบบนี้?
นพ.ธีรนันท์ : "ส่วนใหญ่คำพูดลักษณะแปลกๆ แบบนี้เขาต้องได้ยินมาจากคนรอบข้าง คนสนิท แต่ที่น่ากลัวคือการที่เรารู้สึกว่าหนึ่งในคนที่รักที่สุดไล่ออกจากบ้าน มันปวดร้าวมากเลย แต่เด็กอาจไม่ได้แสดงออก เด็กจะเก็บไว้ข้างใน"

หมอจะบอกว่า ใครก็ตามที่ไปพูดอะไรแบบนั้นมันสร้างรอยด่างดำในหัวใจเขา ทำให้รู้สึกว่าพ่อไม่รัก และไล่เขาออกไป?
นพ. ธีรนันท์ : "เด็กจะรู้สึกอกหักเลยครับ เพียงแต่เขาไม่ได้แสดงออกให้เราเห็นเหมือนผู้ใหญ่ เด็กเขาก็จะเก็บ"

ผลพวงต่อไป พูดแบบกว้างๆ นะ ถ้าผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปใส่เรื่องราวที่ไม่ค่อยดีงามสำหรับครอบครัวตัวเอง เด็กโตขึ้นไปภาวะจะเป็นยังไง?
นพ. ธีรนันท์ : "การใส่อะไรลบๆ โตขึ้นจิตใจก็จะโตแบบลบๆ เป็นอะไรได้บ้างก็เป็นไปได้หมด ซึมเศร้า วิตกกังวล ก้าวร้าว หรืออีกกลุ่มคือบุคลิกภาพที่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม  มันเสี่ยงหมดในสมัยใหม่ เราเลยไปเน้นเรื่องต้องสื่อสารทางบวก ไม่เอาอันไม่ดี ต้องห้ามเสี้ยมเด็ก"

กรณีหลานคุณกอล์ฟ เป็นไปได้มั้ยคนรอบข้างไปพูดหรือทำให้เด็กคิดแบบนี้ เรื่องรถลัมโบกินี พ่อเขาบอกว่าลูกเปลี่ยนไป ต้องมาเริ่มต้นละลายพฤติกรรมกันใหม่ เป็นไปได้มั้ยถูกใส่อะไรเข้าไป ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป?
นพ. ธีรนันท์ : "เป็นไปได้สูงมาก จากในคลิปดูรักพ่อมาก แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่งเปลี่ยนไปโดยที่คุณพ่อไม่ได้ไปทำอะไรไม่ดี หรือทำให้กลัว แสดงว่าเด็กต้องมีภาพอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้พ่อเปลี่ยนไปจากเดิม จากคนรอบข้าง"

 

 

เรื่องราวเหล่านี้ มีผลบนศาลมั้ย?
ดร. มนต์ชัย : "ถ้าจะพูดก็มีส่วนน้อยมากครับ การพิจารณาเรื่องการเป็นพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลท่านพิจารณาเรื่องเด็กเป็นสำคัญ พ่อได้อะไรจากการรับรองบุตร ไม่ได้อะไรนะครับ และพ่อส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินการรับรองบุตรด้วย ปล่อยปัญหาให้คาราคาซังไป แต่ศาลจะพิจาณาถึงเด็ก เพราะกฎหมายกำหนดให้เด็กต้องได้รับการดูแลจากพ่อและแม่ ส่วนอำนาจการปกครองบุตรก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นกรณีการที่เด็กพูดจาถูกใครเสี้ยมหรืออะไรก็ตามเป็นเหตุการณ์หลังพ่อกับลูกแม่ได้มีความสัมพันธ์กันไปแล้ว มันเป็นคนละส่วนกัน แต่ก็เพียงเอามารับฟังประกอบว่าเอ๊ะ เป็นพ่อจริงมั้ย อะไรทำนองนั้น"

ถ้าเรื่องนี้ขึ้นศาล ไปอยู่ตรงสหวิชาชีพ ในการต้องมานั่งคุยต่างๆ นานา เด็กเจ็บปวดอยู่แล้ว ต้องโดนสอบ สองเรื่องที่เด็กถูกปลูกฝังไปว่าอาจเป็นพ่อไม่ดีหรือเปล่า ไปพูดกับสหวิชาชีพ ตรงนี้มีคะแนนมั้ย จะติดลบมั้ยในการเป็นพ่อ?
ดร. มนต์ชัย : "มีคะแนนในส่วนอำนาจในการปกครองบุตรในส่วนหลัง แต่ความเป็นพ่อ เมื่อมีการรวจดีเอ็นเอไปแล้วต้องยุติกันไปตามนั้น แต่เป็นพ่อต้องให้ศาลพิพากษามีคำสั่งไป กรณีนี้เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทางทนายฝ่ายผู้คัดค้านต้องหยิบเหตุมาทำลายน้ำหนักผู้ร้อง มองว่ามีส่วนบ้างในการพิจารณาอำนาจในการปกครองบุตร"

ข้อเรียกร้องก็ไม่ใช่ว่าพอยอมทั้ง 6 ข้อแล้วฝั่งโน้นจะยอมให้ไมค์เป็นพ่อตามกฎหมาย?
ดร. มนต์ชัย : "ถูกต้องครับ บิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดู ถ้าเราจ่ายไหร่ อีกฝ่ายก็ต้องจ่ายเท่านั้นตามสัดส่วน ศาลต้องพิจารณาว่าเด็กขนาดนี้ใช้จ่ายแค่ไหน เพราะเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ไม่ใช่ค่าอุปการะเลี้ยงดูแม่ ต้องแยกแบบนี้ก่อน ซึ่งถ้าพิจารณา การใช้จ่ายของเด็ก 7 ขวบ มันไม่น่าสูงถึงขนาดนั้น ศาลต้องมีวิธีพิจารณา ส่วน 6 ข้อเป็นปลีกย่อยที่จะมาเรียกร้องต่อรองระหว่างพ่อกับแม่เท่านั้น"

6 ข้อที่ร้องขอมา ไม่ได้หมายความว่าทำตามแล้ว ฝั่งโน้นจะยอมรับว่าเป็นพ่อตามกฎหมาย เพราะในนี้เขาแนบท้ายมาว่าผู้คัดค้านคือคุณซาร่า บอกว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์ และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรง และเป็นอันตรายต่อผู้คัดค้าน และดช.แม็กซ์เวลล์ ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่สมควรเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของแม็กซ์เวลล์ และขอให้ผู้ร้องชดใช้ค่าวิชาธรรมเนียมศาล ค่าทนายความให้กับคดีนี้อย่างสูงสุดด้วย?
ดร. มนต์ชัย : "คดีครอบครัวเป็นระบบไต่สวน เป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาสอบถาม ถ้าอีกฝ่ายไม่พอใจฟ้องแย้งสวนมาได้ แต่คำขอส่วนที่เขาขอเพิ่ม เหมือนไม่ใช่คำขอฟ้องแย้งเข้ามา แต่เหมือนเขียนคำร้องเพื่อประกอบ ดังนั้นศาลอาจพิจารณาได้ในการไกล่เกลี่ยกัน ถ้าถามผม มันเมคเซ้นส์มั้ยตรงนี้ไม่ก้าวล่วง แต่ส่วนตัวผมมองว่าศาลจะมองอีกแบบ มองว่าเด็กเหมาะมั้ย อายุขนาดนี้ต้องไปอยู่โรงเรียนแพงๆ มั้ย ต้องกินหรูๆ ทุกมื้อมั้ย ต้องมีคนขับรถมั้ย ตรงนี้ศาลพิจารณาหมดอยู่แล้ว"

ไม่เข้าใจคำว่าผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรง และเป็นอันตรายต่อผู้คัดค้าน ไมค์นี่อันตรายต่อครอบครัวและลูกงี้เหรอ?
ดร. มนต์ชัย : "มันเป็นสำนวน เขามีสิทธิ์กล่าวหา เราก็แย้งได้ สุดท้ายศาลก็พิจารณา"

 

 

การเปลี่ยนคุณภาพชีวิตเด็กมีผลกับเด็กมั้ย?
นพ.ธีรนันท์ : "การย้ายที่โรงเรียน ที่อยู่ เป็นความเครียดของเด็กนะครับ อยู่ดีๆจับเด็กย้ายโรงเรียนบ่อยๆ เด็กจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัว ส่วนคุณภาพชีวิตประกอบด้วยหลายส่วนไม่เกี่ยวโรงเรียนถูกหรือแพง หลักๆคือผู้เลี้ยงดู อยู่กับคุณแม่หรือคุณพ่อตลอด เป็นสิ่งสำคัญที่สุด"

เด็กจำเป็นต้องเจอพ่อบ่อยๆมั้ย?
นพ.ธีรนันท์ : "กรณีนี้เด็กเจอคุณพ่อแล้วมีรีเลชั่นชีพค่อนข้างดี ตัวน้องรักคุณพ่อและมีความสุข นึกภาพเด็กผู้ชายส่วนใหญ่เขาจะก็อปปี้คุณพ่อ โตมาอยากเหมือนคุณพ่อ บุคลิกจะเหมือนคุณพ่อ พอโมเดลที่เขาก็อปอยู่ดีๆหายไปเลย แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เขาจะไปก็อปใครต่อ สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือเขาอาจจะไปก็อปคุณพ่อแต่เห็นจากมุมสายตาคนอื่น อย่างคุณพ่อเป็นคนไม่ดีหรือมีอิมพุตเข้ามา โตขึ้นเขามีแนวโน้มที่จะก็อปปี้คุณพ่อ"

แก้ไขยังไง?
นพ. ธีรนันท์ : "ถ้าทำได้ดีที่สุด อยากให้คุณพ่อมีเวลาไปเล่นกับลูก พาไปเที่ยวให้มีรีเลชั่นชิพที่ดี พอเด็กมีความสุข มีความผูกพันที่ดี เด็กจะไปในทางที่ดีเอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงมุมมองเชิงลบ ต้องเปลี่ยนมุมมองเชิงลบให้เป็นบวกให้ได้"

กรณีนี้คนดูแลน้องอยู่ อาจมีภาวะในความรู้สึกตัวเองด้วยแต่ไม่รู้ตัว?
นพ. ธีรนันท์ : "จริงๆ แล้วการที่คนเรามีการแสดงออกไม่ว่าจะก้าวร้าวหรือไม่ก็เกิดจากความเครียด ความไม่พอใจ หรืออึดอัดอยู่ข้างในเหมือนกัน ปกติคุณหมอจะแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการพูดคุยกับจิตแพทย์ ประเมินเบื้องต้นก่อน เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่ามีความเครียดสะสมต่อเนื่อง ต้องประเมิน สมมติยกตัวอย่างในเคสซึมเศร้าเขาจะมองทุกอย่างลบไปหมด ซื้อดอกไม้ให้ก็มองลบว่าทำไมช่อเล็ก เหมือนแก้วน้ำที่เติมไม่เต็ม คนรอบข้างก็จะซึมเศร้าตาม เวลาใช้ชีวิตอยู่ด้วยความไม่พอใจ  ยังไงก็ไม่เติมไม่เต็ม และไม่มีความสุขได้"

 

 

ตอนนั้นทัวร์ลงไมค์ ด่ากระจาย เพราะมีเหตุผลบางส่วนที่ไมค์ไม่ได้ออกมาพูด ณ วันนี้ถ้าตกลงร่วมกันในการดูแล ค่าใช้จ่ายต้องแบ่งคนละครึ่งหรือเปล่า?
ดร. มนต์ชัย : "ปกติบิดามารดากฎหมายกำหนดอย่างนั้น บิดามารดาต้องเลี้ยงอุปการะบุตร ต้องเป็นคนละครึ่ง พ่อจ่ายเท่าไหร่ แม่จ่ายเท่านั้น เว้นแต่มีการตกลงกัน พ่อออก 70 แม่ออก 30 ก็ว่ากันไป"

ดูแลร่วมกันแล้ว ฝั่งลูกอยู่กับแม่ และหลังจากนั้นเหมือนโดนไซโคต่างๆ นานา มีส่วนมั้ย แล้วจะแก้ไขยังไง?
ดร. มนต์ชัย : "มีส่วนทั้งนั้น เมื่อมีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน ต้องมีการตกลงเงื่อนไขในการดูแลลูกกันว่าจะแบ่งเวลาดูลูกยังไง ถ้าอีกฝ่ายอิดออด ไม่ยอให้ อีกฝ่ายก็ให้ไปร้องต่อศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจอะไรได้"

ดูจากคลิปฝั่งไมค์และซาร่าแล้วเป็นไง?
ดร.มนต์ชัย : "เพื่อประโยชน์ของลูก ไม่น่าเอาลูกเป็นตัวประกัน ตามหลักกฎหมาย เด็กมีพ่อตามกฎหมายมันน่ารัก เป็นสิทธิตามกฎหมาย นี่ผมพูดตามหลักวิชาการ เพราะผมไม่รู้จักซาร่า ไมค์ เรื่องนี้เหมือนเอาเด็กเป็นตัวประกัน เพื่อสร้างเงื่อนไขอะไร"

คำว่าเด็กเป็นตัวประกัน ในครอบครัวคืออะไร?
นพ.ธีรนันท์ : "เพื่อเป็นอำนาจในการต่อรอง ตรงนี้เรียกว่าการพยายามรบเร้า ต่อรอง หรือป่วนประสาทประมาณนั้นเพื่อให้เรายอม ซึ่งถ้าที่เข้าใจ คุณไมค์โดนมาต่อเนื่องจนเครียดสะสม และยอมสุดๆ แล้ว ผมไม่เคยเห็นใครให้เงินเยอะขนาดนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในใจรู้สึกว่าคุณไมค์เป็นหนึ่งในพ่อที่ค่อนข้างดีมาก"
ดร. มนต์ชัย : "นิดเดียว การไม่มีพ่อโดยชอบด้วยกฎหมาย มันลำบากมากนะ"
 

 

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"